Home / ข่าวและกิจกรรม / ข่าวสาร / การสัมมนา การวิเคราะห์ความเสี่ยงของอุบัติเหตุบนถนนหลวง…ในมุมมองของผู้ใช้จักรยาน เมื่อวันเสาร์ที่ 16 พฤษภาคม 2558

การสัมมนา การวิเคราะห์ความเสี่ยงของอุบัติเหตุบนถนนหลวง…ในมุมมองของผู้ใช้จักรยาน เมื่อวันเสาร์ที่ 16 พฤษภาคม 2558

การสัมมนา การวิเคราะห์ความเสี่ยงของอุบัติเหตุบนถนนหลวง…ในมุมมองของผู้ใช้จักรยาน เมื่อวันเสาร์ที่ 16 พฤษภาคม 2558 

สรุปข้อเสนอแนะต่อภาครัฐเพื่อพิจารณานำไปดำเนินการต่อ

               1. ภาครัฐทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น กทม. กรมทางหลวง กรมทางหวงชนบท เทศบาล กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ควรประชุมร่วมกันเพื่อจัดทำระบบการจัดเก็บข้อมูลให้เป็นบรรทัดฐานเดียวกัน  เพื่อความสะดวกและความแม่นยำในการเปรียบเทียบข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล

               2. ภาครัฐดังกล่าวควรจัดทำระบบเก็บข้อมูลอุบัติเหตุ ทั้งที่เกิดการเสียชีวิต และไม่เสียชีวิต โดยเทียบกับระยะทาง (กิโลเมตร) หรือจำนวนวันการเดินทาง  ซึ่งจะแม่นยำและถูกต้องกว่าการเทียบต่อจำนวนประชากร

               3. อุบัติเหตุชนคนเดินเท้า หรือผู้ใช้จักรยานบนไหล่ทางเกิดขึ้นเพราะการแซงซ้ายของผู้ขับขี่รถยนต์ หรือพาหนะอื่นและการแซงซ้ายนี้เกิดขึ้นเพราะผู้ขับขี่ยานยนต์บนเลนซ้ายอาจต้องการแซงรถ เช่น รถบรรทุกที่ขับเคลื่อนช้าอยู่ด้านหน้า แต่ไม่สามารถแซงขวาได้ด้วยติดที่รถยนต์ที่ขับช้าอยู่บนเลนขวา  ทางแก้ไข คือ จัดการ อาจจัดให้มีการกำหนดความเร็วขั้นต่ำหากขับอยู่บนเลนขวา และมีการบังคับใช้กฎหมายนี้อย่างเข้มงวด

               4. ภาครัฐดังกล่าวควรจัดให้มีระบบการรายงานโดยคนที่ประสบหรือพบอุบัติเหตุด้วยตัวเอง (self report)  หรือคนที่รู้จักประสบอุบัติเหตุ ทั้งนี้ การเกิดอุบัติเหตุจากกลุ่มผู้ใช้จักรยานที่เกิดขึ้นเพียงเล็กน้อย ผู้ประสบเหตุอาจจะไม่ได้แจ้ง หรือเป็นข่าวต่อสังคม ข้อมูลสถิติอุบัติเหตุจึงยังมีน้อย หากมีระบบการรายงานด้วยตนเอง ข้อมูลจะแม่นยำ ถูกต้องมากขึ้น เป็นข้อมูลสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีแนวทางการแก้ไขต่อไป

               5. เสนอให้ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกของ iRAP ( The International Road Assessment Program)  ที่หลายประเทศทั่วโลกเป็นสมาชิก ซึ่งมีเครื่องมือและระบบการจัดการเรื่องความปลอดภัยบนถนน

               6. ภาครัฐดังกล่าวควรจัดทำแผนที่ที่เชื่อมต่อกันในเส้นทางสายรอง หรือทางหลวงท้องถิ่นให้เชื่อมต่อกันทั่วประเทศ Thai-Velo (ลักษณะเดียวกันกับ Euro Velo) นอกจากเพื่อการส่งเสริมการใช้จักรยานในชีวิตประจำวันแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในท้องถิ่น ชุมชนด้วย

การสัมมนาครั้งนี้ได้รับความสนใจจากทุกภาคส่วน ทั้งผู้ใช้จักรยาน (ชุมชนและนักปั่น) หน่วยงานภาครัฐ ผู้เข้าร่วมประชุม และกลุ่มสื่อมวลชน

คุณจำรูญ ตั้งไฟศาลกิจ ที่ปรึกษาชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย

คุณกิตติศักดิ์ อินทรวิศิษฎ์ คณะกรรมการชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย

   

ภาพบบรยายกาศในการทำ work shop

Comments

comments

Check Also

ชมรมฯ ร่วมงาน a day BIKE FEST 2016

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น