Home / ข้อมูลความรู้ / ๐๖. พิกัดอัตราศุลกากร

๐๖. พิกัดอัตราศุลกากร

หัวข้อที่ ๖.    พิกัดอัตราศุลกากร

          พิกัดอัตราศุลกากร หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ภาษีศุลกากร หรือ ภาษีนำเข้า นั้น เป็นกฎหมายที่ออกโดยอาศัยอำนาจตาม พรบ.ศุลกากร พุทธศักราช ๒๔๖๙ และเนื่องจากพิกัดอัตราศุลกากรเป็นกฎหมายเกี่ยวด้วยการเงิน ที่มีผลต่อความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ การออกและการแก้ไขแต่ละครั้ง ก็ต้องให้ทันต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ซึ่งมักจะเป็นกรณีที่มีความจำเป็นรีบด่วน จึงสามารถออกเป็นพระราชกำหนดได้ พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. ๒๕๓๐ มีสาระสำคัญเกี่ยวข้องกับจักรยาน ๓ มาตรา คือ มาตรา ๑๐ ; มาตรา ๑๒ และ มาตรา ๑๔
         หลักเกณฑ์ของรถจักรยานเสือภูเขาชนิดที่ใช้แข่งขัน ที่จะได้รับการลดอัตราอากรศุลกากร :
กรม ศุลกากรถือหลักเกณฑ์ลักษณะของจักรยานเสือภูเขาชนิดที่ใช้แข่งขัน ตามหนังสือที่ ส.จ.ท.๕๘๖/๒๕๔๔ ลงวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๔๔ ซึ่งสมาคมจักรยานแห่งประเทศไทยฯ ส่งไปให้ ซึ่งกำหนดลักษณะไว้ ๕ ข้อ คือ

         ๑.    ตัวถัง ซึ่งผลิตจากโลหะหรือวัสดุที่มีคุณภาพสูง ดังนี้
                ๑) อลูมิเนียม อัลลอย    ๒) โครโมลี    ๓) ไตตาเนียม    ๔) คาร์บอน ไฟเบอร์    ๕) คีเรียม
         ๒.    แฮนเดิลบาร์ จะต้องเป็นแบบแฮนด์ตรง หรือมีทรงโค้งความกว้างไม่เกิน ๕๐ เซนติเมตร ผลิตจากวัสดุที่มีคุณภาพแบบเดียวกับตัวถัง
         ๓.    ขับเคลื่อนด้วยโซ่
         ๔.    มีระบบเฟืองทด ตั้งแต่ ๒๑ สปีด (จานหน้า ๓ เฟือง จานหลัง ๗ เฟือง) ขึ้นไป พร้อมทั้งระบบเปลี่ยนเกียร์
         ๕.    ขนาดของวงล้อ ๒๖ นิ้ว

ภาค ๒ “พิกัดอัตราอากรขาเข้า” (เฉพาะรายการที่เกี่ยวกับจักรยาน) :

         อากร ศุลกากรของสินค้าเกี่ยวกับจักรยานนั้น มีอยู่ในบัญชีท้ายประกาศกระทรวงการคลัง จำนวน ๒ ฉบับๆ แรก คือ ประกาศกระทรวงการคลังเรื่อง การลดอัตราอากรและการยกเว้นอากรศุลกากร ตามมาตรา ๑๒ แห่ง พ.ร.ก.พิกัดฯ ซึ่งเป็นอัตราอากรขาเข้าสำหรับของที่มีถิ่นกำเนิดนอกประเทศภาคีของอาเซียน ฉบับที่ ๒ คือ ประกาศกระทรวงการคลังเรื่อง การยกเว้นอากรและการลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน ( อต.๒๐ ) ตามมาตรา ๑๔ แห่ง พ.ร.ก.พิกัดฯ ทั้ง ๒ ฉบับ ลงวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ มีรายการเกี่ยวกับจักรยานโดยสรุป ดังตารางต่อไปนี้
บัญชีท้ายประกาศกระทรวงการคลัง เฉพาะรายการเกี่ยวกับจักรยาน :

การนำรถจักรยานเข้ามาในราชอาณาจักรชั่วคราว :

         กรณี ที่นำ “รถจักรยาน” เข้ามาเพื่อการเดินทางท่องเที่ยวนั้น ไม่ต้องขออนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์ แต่ต้องขออนุญาตจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง โดยจะอนุญาตให้อยู่ในประเทศ ๓๐ วัน ขั้นตอนต่อไปจึงจะเข้าสู่พิธีการศุลกากร
การนำเข้าทางสนง.ศุลกากรนำเข้าท่าเรือกรุงเทพ สนง.ศุลกากรกรุงเทพ และสนง.ศุลกากรท่าอากาศยานกรุงเทพ
กรม ศุลกากรได้กำหนดหลักเกณฑ์การประกันและการค้ำประกัน สำหรับรถจักรยานยนตร์ที่นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศนำเข้าว่า ให้ค้ำประกันตนเอง(ไม่ต้องวางเงิน)ได้ ดังนั้น “รถจักรยาน” จึงอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ดังกล่าวโดยอนุโลม และสำหรับรถจักรยานนั้นยังไม่เคยมีปัญหาว่า มีความยุ่งยากในการนำเข้า หรือนำเข้ามาแล้วไม่นำออกไป ในทางปฏิบัติจึงไม่ต้องทำการค้ำประกันตนเอง

         การนำเข้าทางสนง.ศุลกากรอื่น และด่านศุลกากรส่วนภูมิภาค
ให้ วางประกันด้วยเงินสด หรือหนังสือค้ำประกันของธนาคาร หรือบุคคล ในกรณีที่เห็นว่าผู้นำของเข้าไม่สามารถจะหาประกันดังกล่าวได้จริงๆ ก็ให้ค้ำประกันตนเองได้ แต่ในทางปฏิบัติสำหรับรถจักรยานยนตร์ ให้ค้ำประกันตนเอง(ไม่ต้องวางเงิน)ได้ ส่วนรถจักรยานไม่ต้องทำการค้ำประกันตนเอง
การกำหนดเงินประกัน และวงเงินค้ำประกัน
การ กำหนดเงินประกัน และวงเงินค้ำประกัน ให้กำหนดโดยถือตามราคาบวกค่าภาษีอากรทุกประเภทของรถที่นำเข้าเป็นยอดเงิน ประกัน โดยให้ปัดเศษขึ้นเป็นเลขกลม

การกำหนดระยะเวลาในสัญญาประกัน และการต่ออายุสัญญาประกัน
ใน การทำสัญญาประกัน ให้กำหนดระยะเวลาไม่เกิน ๒ เดือน หากรายใดขอทำสัญญาประกันเกิน ๒ เดือน แต่ไม่เกิน ๖ เดือน จะต้องแสดงเหตุผลพิเศษให้เป็นที่พอใจ แต่ในทางปฏิบัติจะกำหนดระยะเวลาเพียงเท่าที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองอนุญาต ให้อยู่ในราชอาณาจักรได้
การนำเข้ามาหรือส่งออกไปซึ่งจักรยาน เพื่อบริจาคเป็นการสาธารณกุศล :
พ.ร.ก. พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. ๒๕๓๐ มาตรา ๑๐ กล่าวถึงการยกเว้นหรือลดหย่อนอากรศุลกากร แก่ของบางประเภทหรือบางชนิด หรือของบางประเภทหรือบางชนิด ที่นำเข้ามาเพื่อใช้ประโยชน์ที่กำหนดไว้โดยเฉพาะ อันเป็นที่มาของประกาศกรมศุลกากร ๒ ฉบับ คือ
นำเข้ามาหรือส่งออกไป เพื่อบริจาคเป็นการสาธารณกุศลแก่ประชาชน
การ ยกเว้นอากรสำหรับ “รถจักรยาน” ที่นำเข้ามา หรือส่งออกไป เพื่อบริจาคเป็นการสาธารณกุศลแก่ประชาชน โดยผ่านส่วนราชการหรือองค์การสาธารณกุศล มีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังต่อไปนี้

         ๑.    ต้องนำเข้าหรือส่งออกในนามของส่วนราชการ หรือองค์การสาธารณกุศล ตามมาตรา ๔๗ (๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔
         ๒.    มีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร แสดงความจำนงมอบให้แก่ส่วนราชการ หรือองค์การสาธารณกุศลนั้น โดยไม่มีเงื่อนไขและข้อผูกพันใดๆ ทั้งนี้ ต้องแสดงความจำนงในหลักฐานดังกล่าวไว้ก่อนวันที่นำของเข้ามาหรือส่งออกไป
         ๓.    ถ้าบริจาคผ่านส่วนราชการ ส่วนราชการนั้นต้องมีหน้าที่ในการดำเนินงานเพื่อช่วยเหลือหรือการบรรเทา ทุกข์แก่ประชาชน ถ้าบริจาคผ่านองค์การสาธารณกุศล องค์การสาธารณกุศลนั้นต้องนำไปช่วยเหลือ หรือบรรเทาทุกข์แก่ประชาชนตามที่ระบุไว้ในวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งองค์การ สาธารณกุศล
         ๔.    ต้องไม่เป็น “รถจักรยาน” ที่จัดซื้อโดยใช้เงินของส่วนราชการ หรือองค์การสาธารณกุศล หรือเงินที่มีผู้มอบให้
นำเข้ามาเพื่อให้แก่ส่วนราชการหรือองค์การสาธารณกุศล

การ ยกเว้นอากรสำหรับ “รถจักรยาน” ที่นำเข้ามาเพื่อให้แก่ส่วนราชการหรือองค์การสาธารณกุศล ตามภาค ๔ ประเภทที่ ๑๑ แห่ง พรบ.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. ๒๕๓๐ (ฉบับที่ ๕ ) พ.ศ. ๒๕๔๓ มีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังต่อไปนี้
         ๑.    ต้องนำเข้าในนามของส่วนราชการ หรือองค์การสาธารณกุศล ตามมาตรา ๔๗ (๗)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา ๓ (๔)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔
         ๒.    เป็นของที่นำไปใช้ตามหน้าที่ของส่วนราชการ หรือนำไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งองค์การสาธารณกุศล
         ๓.    มีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรแสดงว่า ได้ให้ของแก่ส่วนราชการ หรือองค์การสาธารณกุศล โดยไม่มีเงื่อนไขและข้อผูกพันใดๆ ทั้งนี้ ต้องแสดงความจำนงในหลักฐานดังกล่าวไว้ก่อนวันที่นำของเข้ามาในราชอาณาจักร
         ๔.    ต้องไม่เป็น “รถจักรยาน” ที่จัดซื้อโดยใช้เงินของส่วนราชการ หรือองค์การสาธารณกุศล หรือเงินที่มีผู้มอบให้

การขอยกเว้นอากร ให้ส่วนราชการหรือองค์การสาธารณกุศล เป็นผู้ยื่นขอยกเว้นอากรต่อกรมศุลกากร ก่อนนำ “รถจักรยาน” ออกจากอารักขาศุลกากร
         ๑.     กรณีส่วนราชการเป็นผู้ยื่นขอยกเว้นอากร ต้องเป็นส่วนราชการตั้งแต่ระดับกรมหรือเทียบเท่าขึ้นไป และผู้ลงนามในหนังสือขอยกเว้นอากร ต้องเป็นหัวหน้าส่วนราชการตั้งแต่ระดับกรมหรือเทียบเท่าขึ้นไป หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
         ๒.     กรณีองค์การสาธารณกุศลเป็นผู้ยื่นขอยกเว้นอากร ต้องเป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศลตามมาตรา ๔๗ (๗) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และตามมาตรา ๓ (๔) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๒๓๙) พ.ศ. ๒๕๓๔ และผู้ลงนามในหนังสือขอยกเว้นอากรต้องเป็นผู้มีอำนาจลงนามตามตราสารการจัด ตั้งองค์การหรือสถานสาธารณกุศลนั้น

ส่วนราชการหรือองค์การสาธารณกุศล ต้องยื่นหนังสือขอยกเว้นอากรและเอกสาร ดังนี้
         ๑.    หลักฐานแสดงความจำนงบริจาคหรือมอบให้ เป็นลายลักษณ์อักษรที่เป็นต้นฉบับ
         ๒.    หนังสือตอบรับการบริจาคหรือการให้
         ๓.    เอกสารการนำเข้า เช่น เอกสารสำแดงมูลค่าของ “รถจักรยาน” (Invoice) รายละเอียดของ “รถจักรยาน” ใบตราส่งสินค้า [ BIL (ทางท่าเรือ) หรือ Air Way Bill (ทางท่าอากาศยาน) ]

ไชยยศ รัตนพงษ์ และณัฏฐ์ นีลวัชระ

Comments

comments

Check Also

Mn/DOT Bikeway Facility Design Manual

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น