Home / ข่าวและกิจกรรม / ข่าวสาร / โครงการสร้างเมืองคาร์บอนต่ำ เมืองจักรยาน เมืองรู้สู้ภัยพิบัติ ก้าวสู่ขั้นที่ 2

โครงการสร้างเมืองคาร์บอนต่ำ เมืองจักรยาน เมืองรู้สู้ภัยพิบัติ ก้าวสู่ขั้นที่ 2

โครงการสร้างเมืองคาร์บอนต่ำ เมืองจักรยาน เมืองรู้สู้ภัยพิบัติ ก้าวสู่ขั้นที่ 2

จากที่ได้รายงานไปก่อนหน้านี้ถึงโครงการเมืองคาร์บอนต่ำ เมืองจักรยาน และเมืองรู้สู้ภัยพิบัติ ที่ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทยเป็น 1 ใน 4 ภาคีที่มาร่วมสนับสนุนและดำเนินโครงการ และโครงการได้จัดการประชุมคณะทำงานพัฒนากรอบแนวคิด เกณฑ์ชี้วัด และแนวปฏิบัติ ในการพัฒนาสู่เมืองคาร์บอนต่ำ เมืองจักรยาน และเมืองรู้สู้ภัยพิบัติ ครั้งที่ 1 ไปเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2558 (อ่านข่าวได้ที่ http://www.thaicyclingclub.org/article/detail/7004) แล้วนั้น  ต่อมาเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2558 ก็ได้มีการประชุมคณะทำงานฯ เป็นครั้งที่ 2 ที่โรงแรมอมารีดอนเมืองแอร์พอร์ต

ในการประชุมครั้งนี้ คณะทำงานได้รับแจ้งความคืบหน้าในการดำเนินโครงการในช่วงเดือนที่ผ่านมาจากคณะเจ้าหน้าที่โครงการ ได้แก่การรับสมัครเทศบาลนำร่องที่จะมี 15 เทศบาล ปรากฏว่ามีเทศบาลสมัครเข้ามาถึง 70 แห่งจากทั้งห้าภาคของประเทศ จากภาคเหนือมากที่สุด 30 เทศบาล และเมื่อนำมาเข้ากระบวนการคัดเลือกเทศบาลที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นเมืองต้นแบบ โดยให้น้ำหนักไปกับเทศบาลที่มีประสบการณ์จัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรและก๊าซเรือนกระจกระดับเมืองมาแล้ว ก็ได้เทศบาลมานำร่องทำ 15 เทศบาล ทั้งสามระดับคือเทศบาลตำบล เทศบาลเมือง และเทศบาลนคร และได้รายชื่อบุคลากรเทศบาลที่ตอบรับร่วมเป็นทีมวิทยากรพี่เลี้ยง 17 คนด้วย  โดยจะมีการจัดฝึกอบรมเพิ่มศักยภาพวิทยากรพี่เลี้ยง ครั้งที่ 1 ในวันที่ 24-25 ธันวาคม 2558 ที่โรงแรมบัดดี้โอเรียนทอลริเวอร์ไซด์ ปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี   ทีมวิทยากรจากชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทยจะได้ให้ความรู้กับวิทยากรพี่เลี้ยงเกี่ยวกับการสร้างเมืองและชุมชนจักรยาน ซึ่งพวกเขาจะได้นำไปใช้ในการฝึกอบรมเทศบาลที่ได้รับเลือกเป็นเมืองต้นแบบในขั้นต่อไป

จากนั้นที่ประชุมได้หารือกันอย่างกว้างขวางถึงแนวปฏิบัติสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาสู่เมืองคาร์บอนต่ำ-เมืองจักรยาน-เมืองรู้สู้ภัยพิบัติ ได้ผลออกมาเป็นแนวปฏิบัติ 11 ข้อที่กระชับขึ้น โดยแนวปฏิบัติแต่ละแนวมีตัวอย่าง และมีตัวชี้วัดหรือเกณฑ์อย่างต่ำในการพัฒนาที่ชัดเจน โดย “เมืองต้นแบบ” ทุกแห่งต้องพัฒนาให้ได้ทั้งการเป็นเมืองคาร์บอนต่ำ เมืองจักรยาน และเมืองรู้สู้ภัยพิบัติ แต่ “ปริมาณ” ของความสำเร็จของแต่ละเมืองอาจไม่เท่ากันขึ้นกับสภาพของแต่ละเมือง ทั้งได้นำเวลาอันจำกัดสองปีของโครงการนี้มาพิจารณาด้วย

รายงานโดย  กวิน ชุติมา

กรรมการชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย และผู้แทนชมรมฯ ในคณะทำงานโครงการ

Comments

comments

Check Also

ชมรมฯ ร่วมงาน a day BIKE FEST 2016

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น