News

Children used bicycle to learn to know and develop their hometown

On January 27-28, 2017, children from Phibun Mangsaharn Wiphak Witthayakorn Kindergarten in Phibun Mangsaharn District Town, Ubon Ratchathani Province, in the Northeastern Region of Thailand used bicycle to go around their hometown to survey existing problems with supports from Phibun Mangsaharn Town Municipality, Phibun Mangsaharn District Police Station, local conservation groups, and Thailand Walking and Cycling Institute (TWCI) / Thailand Cycling Club (TCC). Idea behind this activity came from Ranong Province in Thailand’s Southern Region where the Federation of Pedestrians and Bicycle Users in the Upper Southern Region and TWCI/TCC worked with Ranong Kindergarten to promote walking to school.  The …

Read More »

CALL FOR PAPER AND ABSTRACT

Thailand Bike and Walk Forum is an annual symposium on walking and cycling in daily life.  Having been organized by TCC since 2013, it is aimed to stimulate creation of knowledge, and sharing of experiences, on walking and cycling in daily life, especially in the context of Thailand.  Body of knowledge generated from researches and studies related to this forum and TCC’s public policy advocacy work have led to a number of concrete results. Theme of the 5th forum in 2017 is ‘Walk and Bike Friendly Community’. To create a walk and bike friendly community or town in Thailand, it …

Read More »

การเปิดรับบทคัดย่อและผลงานวิจัยด้านการเดินและจักรยาน Thailand Bike and Walk Forum ครั้งที่ 5

ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย และสสส. จัดประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัย เดิน จักรยาน มาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 มีผลงานมากกว่า 80 เรื่องเผยแพร่สู่สาธารณะ และมีกลุ่มเป้าหมาย ทั้ง ผู้บริหารเมือง ผู้แทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน ฯลฯ เข้าร่วมประชุมอย่างกว้างขวาง อนึ่ง ปี พ.ศ. 2560 ชมรมฯ สถาบันการเดินและการใช้จักรยานไทย (Thailand Walking and Cycling Institute : TWCI) และโครงการการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน จะจัดการประชุมวิชาการ การส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 5 ประเด็น ชุมชนที่เป็นมิตรต่อการเดินและการใช้จักรยาน (The 5th Thailand Bike and Walk Forum : Walk and Bike Friendly Community) ขึ้นในศุกร์ที่ 3 มีนาคม 2560 ณ อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา (อาคารจามจุรี 10) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อนำเสนอผลงานวิชาการ และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เดิน จักรยาน ในการนี้ จึงขอเชิญคณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ และบุคลากรในสังกัดของท่านส่งบทคัดย่อและบทความวิชาที่สอดคล้องกับประเด็น “ชุมชนที่เป็นมิตร…ต่อการเดินและการใช้จักรยาน” เพื่อรับการพิจารณานำเสนอผลงานในการประชุมฯ บัดนี้ – 20 ธันวาคม 2559    

Read More »

ชมรมฯ ร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือสร้างเมืองที่เป็นมิตรต่อคนเดินและใช้จักรยานในภาคใต้

ชมรมฯ ร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือสร้างเมืองที่เป็นมิตรต่อคนเดินและใช้จักรยานในภาคใต้           จากการที่ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทยได้สนับสนุนให้กลุ่มผู้ใช้และชมรมจักรยานในจังหวัดของภาคใต้ตอนบนทำงานร่วมกัน จนเกิดเป็น “สมาพันธ์ผู้ใช้จักรยานและการเดินภาคใต้ตอนบน” ขึ้นในปี ๒๕๕๘ ที่ผ่านมา ทางสมาพันธ์ฯ ได้หารือกับผู้บริหารจังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่เกิดความเห็นชอบที่จะมาทำงานร่วมกันใน “โครงการเมืองที่เป็นมิตรต่อการเดินและการปั่นจักรยาน” ขึ้น โดยเริ่มที่การเดิน และเห็นว่า ในขั้นแรก เด็กนักเรียนน่าจะเป็นกลุ่มเป้าหมายที่เหมาะสม โดยกิจกรรมของโครงการจะเป็นการปรับปรุงพื้นที่รอบโรงเรียนให้เป็นพื้นที่ปลอดภัย เป็นมิตรต่อการเดินและการใช้จักรยาน  จึงได้ไปหารือสอบถามความสนใจที่จะเข้าร่วมโครงการกับผู้บริหารโรงเรียนในจังหวัดเป้าหมาย จนในที่สุดได้โรงเรียนที่เข้าร่วมเป็นโรงเรียนนำร่อง ๖ โรงเรียนใน ๔ จังหวัดคือ โรงเรียนชุมชนมาบอำมฤต (จ.ชุมพร), โรงเรียนเทศบาล ๑ ชุมพร (จ.ชุมพร), โรงเรียนอนุบาลระนอง (จ.ระนอง), โรงเรียนเทศบาลบ้านเสนารังสรรค์ (จ.พังงา), โรงเรียนอนุบาลพังงา (จ.พังงา) และโรงเรียนอิศรานุสรณ์ (จ.กระบี่) จากนั้นก็ได้เชิญชวนสถาบันการศึกษาคือ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง และมหาวิทยาลัยศิลปากร มาให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ และภาคเอกชนคือ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) มาสนับสนุน ภาพและข้อความ Walk and Bike Friendly City บนถนนระหว่างพระราชวังรัตนรังสรรค์ ภาพและข้อความ Walk and Bike Friendly City บนถนนระหว่างพระราชวังรัตนรังสรรค์  กับโรงเรียนอนุบาลระนอง ( ถ่ายจากโดรน)           เมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๙ ฝ่ายต่างๆที่เข้าร่วมในโครงการได้มาพบกันพร้อมหน้าพร้อมตาเป็นครั้งแรกที่เมืองระนอง เพราะเด็กๆ ที่โรงเรียนอนุบาลระนองได้รวมตัวกันขึ้นมาก่อนโรงเรียนอื่นตั้งเป็น “หน่วยกล้าเดิน” และเสนอโครงการ-กิจกรรมขึ้นมาเอง  สำหรับกิจกรรมในวันนั้นเริ่มต้นด้วยการที่เด็กนักเรียนและตัวแทนขององค์กรที่มาร่วมมือกันเดินตามถนนวนไปรอบโรงเรียนอนุบาลระนอง ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางเมือง ส่วนหนึ่งเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์และประกาศเริ่มโครงการสร้างเมืองที่เป็นมิตรต่อคนเดินและใช้จักรยานอย่างเป็นทางการ แม้ว่าเส้นทางและระยะเวลาเดินจะถูกตัดให้สั้นลงเนื่องจากดินฟ้าอากาศไม่อำนวย มีฝนตกมาตั้งแต่เช้า ซึ่งเป็นสภาพธรรมดาในฤดูฝนของ “เมืองฝนแปดแดดสี่” แห่งนี้ เมื่อเดินมาครบรอบ แขกผู้มีเกียรติก็ได้ช่วยกันลงสีเติมเต็มตัวอักษร “Walk and Bike Friendly City” …

Read More »

ชมรมฯ ร่วมแสดงความเห็นการกำหนดเขตพัฒนาการท่องเที่ยวพื้นที่กรุงเทพมหานคร

ชมรมฯ ร่วมแสดงความเห็นการกำหนดเขตพัฒนาการท่องเที่ยวพื้นที่กรุงเทพมหานคร               สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ร่วมกับสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดทำโครงการศึกษาความเหมาะสมในการประกาศเขตพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อศึกษาประเมินความเหมาะสมในการประกาศเขตพัฒนาการท่องเที่ยวกรุงเทพมหานครและหมู่เกาะทะเลใต้ ทางสถาบันบัณฑิตฯ ศศินทร์ จึงได้จัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียจากภาคส่วนต่างๆ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ขึ้นในวันที่ ๑๒, ๑๓ และ ๑๙ กันยายน ๒๕๕๙ ที่โรงแรมเอเชีย กรุงเทพฯ และได้เชิญชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทยเข้าร่วมประชุมด้วยในฐานะที่เป็นหน่วยงานที่มีความเกี่ยวข้องที่สำคัญอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนให้โครงการบรรลุวัตถุประสงค์           ชมรมฯ ได้ส่งนายกวิน ชุติมา กรรมการ เป็นผู้แทนไปร่วมประชุมในวันที่ ๑๓ กันยายน  ในที่ประชุม วิทยากรได้ทบทวนความเป็นมา ข้อดีและข้อเสียของการประกาศเขตพัฒนาการท่องเที่ยว จากนั้นได้เปิดให้ผู้เข้าร่วม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นตัวแทนมาจากเขตต่างๆ ของกรุงเทพมหานคร ได้แสดงความคิดเห็น ความกังวลใจ และข้อเสนอแนะ  ผู้แทนชมรมฯ ได้เล่าอย่างย่อๆ ถึงการทำงานของชมรมฯ ในการส่งเสริมการใช้จักรยาน โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานคร ซึ่งชมรมฯ ได้ทำงานกับชุมชน กลุ่มผู้ใช้จักรยาน และสำนักการท่องเที่ยวและกีฬาของ กทม.ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยจักรยานด้วย และกล่าวว่า การใช้จักรยานในด้านต่างๆ รวมทั้งเพื่อการท่องเที่ยวกำลังเป็นกระแสไปทั่วโลก หลายประเทศลงทุนและดำเนินการต่างๆ เพื่อส่งเสริมการใช้จักรยานเพื่อการท่องเที่ยวอย่างจริงจัง มีการศึกษาในยุโรปพบว่าการลงทุนด้านนี้ให้ผลตอบแทนสูงถึง ๖ เท่า และผลที่ได้กระจายอย่างกว้างขวางไปถึงคนหลายส่วนในท้องถิ่นมากกว่าการท่องเที่ยวด้วยยานพาหนะอื่น ประเทศไทย รวมทั้งกรุงเทพฯ มีศักยภาพ-มีจุดขายในการส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยจักรยานสูง มีบริษัทจัดท่องเที่ยวด้วยจักรยานมากว่ายี่สิบปีแล้ว  การแบ่งพื้นที่(เขต)ในกรุงเทพฯ เป็นกลุ่มเครือข่ายการท่องเที่ยว ๕ เครือข่าย ๕ ด้าน (เชิงนิเวศ ทางศิลปะวิทยาการ ทางวัฒนธรรมทางประวัติศาสตร์ และเพื่อนันทนาการ) ตามที่โครงการเสนอ น่าจะไม่สอดคล้องกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยจักรยาน เนื่องจากในความจริง แต่ละเขตมีจุดเด่นของการท่องเที่ยวนักท่องเที่ยวมากกว่าหนึ่งด้าน และนักท่องเที่ยวด้วยจักรยานอาจสนใจได้ไปดูไปเรียนรู้จุดเด่นมากกว่าหนึ่งด้านในการเดินทางครั้งเดียว การส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยจักรยานต้องมีการพัฒนาปัจจัยหลายด้านไปพร้อมกัน ไม่เพียงแค่ประกาศว่ามีจุดเด่นการท่องเที่ยวที่นั่นที่นี่ ต้องมีการให้ข้อมูล-ประชาสัมพันธ์ให้ผู้สนใจเข้าถึงได้หลายทางที่สะดวก มีระบบและโครงสร้างพื้นฐานรองรับ เช่น การแนะนำเส้นทาง ป้าย-เครื่องหมาย จักรยานให้เช่าใช้ได้ดี ที่จอดจักรยานได้ปลอดภัย ร้านอาหารเครื่องดื่มและที่พัก ฯลฯ และที่สำคัญต้องให้ชุมชน-ผู้มีส่วนได้เสียในท้องถิ่นมีส่วนร่วมและได้ประโยชน์ …

Read More »

“เดินและจักรยานเข้าไปอยู่ในผังเมืองแล้ว….ไชโย”

        วันนี้วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม 2559  กรุงเทพมหานคร โดยสำนักผังเมืองได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นในด้านความเหมาะสมในการเอาประเด็นผังเมืองมาส่งเสริมการพัฒนากรุงเทพชั้นในและชั้นกลาง ซึ่งเราก็มีตัวแทนเข้าไปร่วมให้ความคิดเห็นด้วยมาในหลายครั้ง       มีข้อสรุปในส่วนที่เกี่ยวกับพวกเราและทำให้พวกเรายินดีโห่ร้องด้วยความยินดีได้เยอะทีเดียวค่ะ มาเล่าสู่กันฟังสั้นๆ ดังนี้นะคะ ข้อแรกเลย เขาสรุปว่า “ส่งเสริมการสัญจรรอบสถานีรถไฟฟ้า และส่งเสริมการเดินและใช้รถจักรยานให้มากขึ้น” นี่เป็นครั้งแรกเลยนะที่เขาเอาเรื่องนี้ไปใส่ในมาตรฐานทางผังเมืองอย่างชัดๆ ไม่ใช่พูดลอยๆ อย่างที่เคยทำมา….แบบนี้ก็ต้องไชโยสิคะ ใช่มั้ยละคะ ส่งเสริมให้เขตชั้นในและเขตชั้นกลางของกรุงเทพฯ เช่นแถวสีลม สนามหลวง เยาวราช บางซื่อ ดินแดง บางกอกใหญ่ ราษฎร์บูรณะ ฯลฯ เป็น ‘เมืองกระชับ’ หรือ compact city ซึ่งเมืองกระชับแบบนี้จะเหมาะแก่การเดินและการใช้จักรยานอย่างมาก เพราะการเดินทางจะสั้นๆ ไม่ไกลเกินไป ซึ่งนี่ก็จะเป็นโอกาสของพวกเราในการผลักดันขับเคลื่อนให้เรื่องเดินละจักรยานในวิถีชีวิตประจำวันไปสู่ความสำเร็จได้ง่ายและเร็วขึ้น…..ต้องขอไชโยอีกทีละค่ะ “ควรสงวนและรักษาทางเท้า เพื่อลดปัญหาการจราจรจากการซื้อของ’ นี่ก็คงหมายถึงมีหาบเร่แผงลอยบนทางเท้ามากจนเดินไม่ได้ ต้องไปเดินบนถนนจึงเป็นปัญหาของคนเดินเท้ารวมทั้งคนขับรถ และนี่ก็เป็นสัญญาณที่ดีที่ปัญหานี้จะได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังละเป็นระบบ ซึ่งจะทำให้เราเดินและขี่จักรยานได้ง่ายขึ้นและปลอดภัยขึ้น….ได้มาอย่างนี้ก็ร่วมกันไชโยอีกสิคะ ‘ทำแผนรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต เช่น เมืองผู้สูงอายุ เมืองภัยพิบัติ และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น’       ตรงนี้ชัดเจนว่าเมืองเราจะเป็นเมืองที่มี ‘คนแก่’ มากขึ้นๆและคนแก่นี่แหละที่เดินได้ไม่คล่องตัวเท่าคนหนุ่มสาว ซึ่งคน ‘ไม่แก่’ รู้กันไหมว่า คนแก่ก้าวเดินขึ้นลงที่ขอบทางเท้าสูงๆ ไม่ค่อยได้ ถ้าเราไม่ทำให้เมืองเราเดินได้ง่ายขึ้น คนแก่จะออกจากบ้านไม่ได้ และกลายเป็นคนพิการไปโดยปริยาย       สำหรับเรื่องเมืองภัยพิบัติ ตรงนี้มีหลักฐานชัดเจนว่า ตอนเกิดแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่น และอีกหลายประเทศ ตึกถล่ม ไฟฟ้าดับ ปั๊มน้ำมันใช้งานไม่ได้ ถนนพัง ทำให้รถยนต์วิ่งไม่ได้ จะมีก็แต่จักรยานนี่แหละที่ขี่ไปมาได้ ตรงไหนขี่ลำบากก็ยังจูงไปต่อได้       ส่วนเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนี่ชัดเจนว่า การเดินและการใช้จักรยานไม่ปล่อยมลพิษ จึงไม่ทำให้ภูมิอากาศเปลี่ยนไป  โลกก็จะไม่ร้อน ฝนตกไม่ถูกต้องตามฤดูกาลก็จะไม่เกิดขึ้น เรื่องเดินและจักรยานจึงเป็นสิ่งที่ทั่วโลกให้ความสนใจมากถึงมากที่สุดทีเดียว       ขอแถมนิดนึงว่า การผลักดันให้มีการสร้างทางจักรยานหรือทางเท้า ในเมืองนี่เป็นเรื่องดี ดีมากด้วย แต่ถ้าเราไม่ผลักดันแบบเป็นถนนทีละสาย …

Read More »

โครงการชุมชนจักรยานเพื่อสุขภาวะจัดเวทีพัฒนาศักยภาพผู้เสนอโครงการ

โครงการชุมชนจักรยานเพื่อสุขภาวะจัดเวทีพัฒนาศักยภาพผู้เสนอโครงการ ในช่วงวันที่ ๑๖-๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๙ ที่ผ่านมา โครงการพัฒนาศักยภาพภาคีและติดตามสนับสนุน โครงการชุมชนจักรยานเพื่อสุขภาวะ ที่ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย ดำเนินการให้สำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม (สำนัก ๖) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้จัดเวทีพัฒนาศักยภาพผู้เสนอโครงการและชี้แจงแนวทางการดำเนินงานชุมชนจักรยานเพื่อสุขภาวะ

Read More »

การประชุม ISPAH 2016 เปิดรับบทคัดย่อเพิ่มเติม

คงเป็นที่ทราบกันแล้วว่าการประชุมนานาชาติว่าด้วยกิจกรรมทางกายและสาธารณสุข ครั้งที่ 6 (The 6th ISPAH International Congress on Physical Activity and Public Health) จะมีขึ้นที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพมหานคร ในระหว่างวันที่ 16-19 พฤศจิกายน 2559 และเช่นเดียวกับการประชุมทางวิชาการต่างๆ ได้มีการเปิดรับบทคัดย่อของงานวิชาการของผู้ที่ประสงค์จะนำไปเสนอในการประชุมครั้งนี้

Read More »

ประชุมกลุ่มย่อย มาตรฐานจักรยานและชิ้นส่วน กับผู้มีส่วนได้เสีย

การจัดประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) เพื่อนำเสนอการจัดทำมาตรฐานจักรยานและชิ้นส่วน จากยุทธศาสตร์ด้านนโยบายและการบริหารจัดการของมติที่ 1 การจัดระบบและโครงสร้างเพื่อส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน ที่มีเป้าหมายเพื่อการกำหนดทิศทางแนวทางและระบบบริหารจัดการที่เหมาะสมที่จะนำไปสู่การดำเนินงานให้เห็นเป็นรูปธรรม ในการกระตุ้นและส่งเสริมให้ประชาชนเลือกการเดินและการใช้จักรยานเป็นวิธีการหนึ่งในการเดินทางในชีวิตประจำวัน

Read More »