Home / Articles

Articles

Carbon dioxide emissions from passenger transport

Carbon dioxide emissions from passenger transport A wide range of transport options exists, but choosing the one with lowest emissions is not always straightforward. One way to measure your environmental impact is to look at the CO2 emissions per passenger kilometre travelled. Note: CO2 emissions are calculated using an estimate of the amount of CO2 per passenger-kilometre. Different modes of transport are considered, with an average number of passengers per mode used for estimates. As the number of passengers in a vehicle increases, the total CO2 emissions of that vehicle increases, but the emissions per passenger are fewer. The inland …

Read More »

บก. Human Ride ชี้แนวทางการสนับสนุนการใช้จักรยานที่ประสบความสำเร็จ

ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทยทำงานส่งเสริมการใช้จักรยาน โดยเฉพาะการใช้จักรยานเพื่อการสัญจรในชีวิตประจำวัน อย่างเข้มข้นต่อเนื่องมาห้าปี ทั้งการทำงานศึกษาวิจัยให้ได้ข้อมูลองค์ความรู้มาเป็นพื้นฐานในการขับเคลื่อน การทำงานเชิงนโยบายให้ประเทศไทยมีระบบและโครงสร้างที่เอื้อต่อการใช้จักรยาน  การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้กับสังคม และการทำงานกับกลุ่มองค์กรต่างๆ ในการสร้างชุมชนและเครือข่ายของผู้ใช้จักรยาน   จากการที่ไทยก็เช่นเดียวกับประเทศและสังคมต่างๆ ที่ประชาชนส่วนใหญ่เข้ามาอยู่อาศัยใน “เมือง” การทำงานให้เมืองต่างๆ เป็นเมืองที่เอื้อต่อการใช้จักรยานจึงเป็นแนวทางที่สำคัญ ซึ่งชมรมฯ ก็ได้เสนอมาตลอดว่า เมืองๆ หนึ่งจะเป็น “เมืองจักรยาน” หรือเมืองที่เป็นมิตรกับการใช้จักรยานนั้น เราควรจะทำอะไรบ้าง ในช่วงเวลาเดียวกัน นิตยสาร a Day ได้หันมาสนใจเรื่องจักรยานอย่างจริงจัง และจัดทำฉบับพิเศษชื่อ Human Ride ขึ้นมา บอกเล่าถึงเรื่องที่เกี่ยวข้องกับจักรยานและการใช้จักรยานในเมืองและประเทศต่างๆ โดยมีทรงกลด บางยี่ขัน เป็นบรรณาธิการบริหาร  เขาและทีมงานได้เดินทางไปเรียนรู้เรื่องราวที่แวดล้อมจักรยานในเมืองและประเทศเหล่านั้นด้วยตนเอง ทำให้มีความรู้และประสบการณ์ตรงอย่างกว้างขวาง สามารถเปรียบเทียบสถานการณ์ด้านจักรยานในเมืองและประเทศนั้นกับกรุงเทพมหานครและไทยได้ ในนิตยสาร Human Ride ฉบับล่าสุด Volume 4 Number 10 ใช้ชื่อว่า “British Bicycle” ที่ว่าด้วยจักรยานและการใช้จักรยานในสหราชอาณาจักร หรือที่เราเรียกกันว่าอังกฤษ บก.ทรงกลดได้เขียนไว้ในเนื้อหาที่เป็นบทนำส่วนหนึ่งว่า “….การพูดคุยกับนักปั่นจักรยานมากมายในประเทศนี้ ทำให้ผมรู้ว่าสหราชอาณาจักรก็เป็นอีกประเทศที่เพิ่งหันมาสนับสนุนจักรยานอย่างจริงจังเมื่อ 5-6 ปีที่แล้ว พร้อมๆกับเมืองอย่างโตเกียว สิงคโปร์ ไทเป และกรุงเทพฯ นักปั่นชาวไทยเคาะคีย์บอร์ดนินทาทางจักรยานในกรุงเทพฯ กันสนุกปากยังไง ทางจักรยานชุดแรกในทุกประเทศที่ว่ามาก็โดนนักปั่นในบ้านเมืองเขาบ่นไม่ต่างกัน แต่สิ่งที่ทุกเมืองที่ว่ามาแตกต่างจากกรุงเทพฯ และหลายเมืองในประเทศไทยอยู่บ้าง ก็คือ หนึ่ง เขาใช้ทางจักรยานที่ไม่ลงตัวเป็นบทเรียนเพื่อปรับให้ทางจักรยานเส้นใหม่ใช้งานได้ดีขึ้น สอง งบประมาณเพื่อการสนับสนุนการใช้จักรยานส่วนใหญ่ใช้ไปกับการลงทุนสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานสำหรับจักรยาน ไม่ใช่จัดทริปปั่นจักรยาน สาม การวัดความสำเร็จไม่ได้นับจำนวนคนที่มาร่วมทริปปั่นจักรยาน แต่ดูจากจำนวนคนที่ใช้จักรยานเพื่อการสัญจร สี่ การลงทุนพัฒนาทางจักรยานในเมืองไม่ได้ทำเพื่อเอาใจนักปั่น แต่เป็นการทำให้เมืองดีขึ้น เพราะถ้าคนใช้จักรยานแทนรถยนต์มากขึ้น การจราจรจะดีขึ้น คุณภาพอากาศดีขึ้น ชุมชนน่าอยู่ขึ้น และปลอดภัยขึ้น (รถยนต์ที่น้อยลงและแล่นช้าลง ช่วยลดอุบัติเหตุที่จะเกิดกับคนเดินเท้าและเด็กๆ) คนที่ได้รับประโยชน์จึงไม่ได้มีแต่คนใช้จักรยาน แต่เป็นทุกคนในเมือง ห้า ทิศทางการพัฒนาเรื่องจักรยานในเมืองถูกวางแผนโดยผู้เชี่ยวชาญทั้งนักวิชาการและภาคประชาชน ให้เป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาการจราจรและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เมืองน่าอยู่….” นอกจากนั้น Human Ride ฉบับนี้ยังได้นำวิสัยทัศน์เรื่องการพัฒนาระบบจักรยานในลอนดอน (The Mayor’s Vision for Cycling in London) ของนายบอริส …

Read More »

ชมรมฯ ร่วมงานเปิดโครงการท่องเที่ยววิถีชุมชนบึงพระราม ๙

(ซ้าย) โปสเตอร์งานเปิดโครงการ  และ (ขวา) ผู้นำชุมชนและผู้แทนองค์กรต่างๆที่เข้าร่วมงานหลังพิธีเปิด ผู้แทนชมรมฯ คนที่ ๒ จากขวา ชุมชนบึงพระราม ๙ และบึงพระราม ๙ พัฒนา เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร ได้ทำ “โครงการท่องเที่ยววิถีชุมชนบึงพระราม ๙” เพื่อพัฒนาชุมชนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแห่งใหม่ และได้จัดงานเปิดตัวโครงการนี้ไปเมื่อวันเสาร์ที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๖๐ เชิญหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องไปร่วม รวมทั้งชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย เนื่องจากการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมนี้จะใช้วิธีเดินและขี่จักรยานไปยังจุดต่างๆ ในย่านชุมชน โดยชมรมฯ มีนายกวิน ชุติมา กรรมการ  เป็นผู้แทนไปร่วมงาน ชุมชนทั้งสองนี้ตั้งอยู่ใกล้กับสี่แยกที่ถนนประดิษฐ์มนูธรรมตัดกับถนนพระราม ๙ บริเวณที่คลองลาดพร้าวเชื่อมต่อกับคลองแสนแสบ  เดิมเป็นนากระจับและไร่ผักบุ้งที่มีคนอาศัยอยู่มาสี่ชั่วคน  ในปี ๒๕๓๑ มีการทำโครงการแก้มลิงเกิดเป็นบึงพระราม ๙ ขึ้น ต่อมาบึงนี้ถูกใช้เป็นที่บำบัดน้ำเสียของคลองลาดพร้าวตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ และมีการตัดถนนให้เดินทางสะดวก ชุมชนขยายตัวใหญ่ขึ้นจึงได้แยกเป็นชุมชนบึงพระราม ๙ และชุมชนบึงพระราม ๙ พัฒนา แต่ก็ยังทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน รวมทั้งในโครงการนี้ด้วย  พวกเขายังภูมิใจด้วยว่าเป็นชุมชนที่มีคนสามศาสนาคืออิสลาม พุทธ และคริสต์ อยู่ร่วมกันอย่างสามัคคีกลมเกลียว (ซ้าย) วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก   (ขวา) มูลนิธิพันธกิจเรือนจำคริสเตียน การพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่ชุมชนได้รับการสนับสนุนของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ที่ชาวบ้านเช่าที่อยู่นี้ จึงใช้สภาพพื้นที่เป็น “จุดขาย” โดยแบ่งเป็นสามส่วนหลักๆ ส่วนแรกเป็นสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับศาสนาทั้งสาม คือ บาแล อันเป็นสถานที่ประกอบกิจทางศาสนาของชาวมุสลิม คล้ายสาขาย่อยของมัสยิด, วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก ที่เรียบง่ายแต่สวยงาม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ทรงมีพระราชดำริ ออกแบบ และพระราชทรัพย์มาก่อสร้างด้วยพระองค์เอง และอาคารของมูลนิธิพันธกิจเรือนจำคริสเตียนที่รับผู้พ้นโทษมาพักพิงและช่วยให้มีชีวิตใหม่ที่ดีกลับคืนสังคม (ซ้าย) สวนผักพอเพียง   (ขวา) คอกเลี้ยงแพะ (ซ้าย) พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ    (ขวา) ปากทางเข้าอุโมงค์ยักษ์บริเวณจุดเชือมต่อคลองลาดพร้าว-คลองแสนแสบ ส่วนที่สองเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของชาวชุมชน เช่น สวนผักพอเพียง การเลี้ยงแพะ การแข่งขันนกกรงหัวจุก(ชื่อทางการคือนกปรอดหัวโขน)  และส่วนที่สามเกี่ยวข้องกับบึงพระราม ๙ มีพิพิธภัณฑ์ปลาน้ำจืด และจุดเริ่มต้นของอุโมงค์ยักษ์ที่ …

Read More »

ขนาดนักจักรยานแชมป์โลก แชมป์โอลิมปิกยังสนใจ เรื่องจักรยานชาวบ้าน

ขนาดนักจักรยานแชมป์โลก แชมป์โอลิมปิกยังสนใจ เรื่องจักรยานชาวบ้าน นักจักรยานชาวอังกฤษดังๆระดับโลก เป็นเจ้าของแชมป์เหรียญทอง เจ้าของสถิติมากมาย มีจดหมายถึงนายกรัฐมนตรีของเขา เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน 2559 เรียกร้องให้ นรม. จัดให้มีการอำนวยความสะดวกให้แก่การใช้จักรยานในวิถีชีวิตประจำวันของประชาชน ลองอ่านรายละเอียดดูข้างล่างนี้ http://www.thaicyclingclub.org/wp-content/uploads/2017/01/จดหมายถึง-นรม..ประวัตินักกีฬาจักรยานทีมชาติอังกฤษ.pdf  

Read More »

ไฟติดล้อจักรยาน เพิ่มทั้งความปลอดภัยและความสนุก

ความปลอดภัยในการขี่จักรยานยามค่ำคืนเพิ่มขึ้นแน่นอน หากผู้ใช้ถนนรายอื่นสามารถมองเห็นจักรยานกับคนขี่ได้ชัดเจนมากขึ้น  นี่เป็นเหตุผลที่มาตรา 80 ของพระราชบัญญัติการจราจรทางบก พ.ศ.2522 กำหนดให้จักรยานต้องมีโคมไฟติดหน้ารถให้แสงสีขาวและโคมไฟติดท้ายรถให้แสงสีแดงหรือติดวัตถุที่เมื่อถูกไฟส่องจะให้แสงสะท้อนสีแดง  นอกจากที่กฎหมายกำหนดแล้ว ผู้ใช้จักรยานหลายคนยังติดไฟและแถบสะท้อนแสงเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มความปลอดภัยมากขึ้น เช่น อย่างในภาพข้างล่างนี้เป็นแถบสะท้อนแสงที่มีขายที่ญี่ปุ่นในราคาเพียงชุดละ 30 บาท ทางซ้ายที่ออกสีเขียว-เหลืองใช้ติดตัวกับรถจักรยานอย่างบังโคลนและตัวถัง หรือติดหมวกนิรภัยหรือเป้สะพายหลังได้ด้วย  ส่วนทางขวาเป็นสีขาวใช้ติดกับวงล้อจักรยานได้ตั้งแต่ขนาด 18 ถึง 28 นิ้ว ที่น่าสนใจคือแถบสะท้อนแสงที่ใช้ติดกับวงล้อเพื่อเพิ่มการมองเห็นได้ชัดขึ้นสำหรับรถยนต์ที่มาจากด้านข้างของจักรยาน  เดิมนั้นจักรยานที่ขายในไทยมีแถบพลาสติกสะท้อนแสงสีขาวติดกับกงล้อมาด้วย แต่สังเกตว่าในปัจจุบันจักรยานจำนวนมากไม่มีชิ้นส่วนเพื่อเพิ่มความปลอดภัยนี้ติดให้มาด้วยแล้ว   ทั้งที่ไฟหรือวัตถุสะท้อนแสงให้ผู้ขับรถเห็นจักรยานได้ชัดเจนขึ้นจากด้านข้างนี้สำคัญมากและควรมีติดไว้เป็นอย่างยิ่ง เพราะโคมไฟและวัตถุสะท้อนด้านหน้า-หลังช่วยเพิ่มความสามารถในการมองเห็นของผู้ใช้รถทางด้านหน้าและหลังเท่านั้น ขณะที่ในความเป็นจริง มีรถยนต์แล่นเข้ามาหาจักรยานได้จากทุกทิศทาง  ผู้ใช้จักรยานหลายท่าน รวมทั้งผู้เขียน เคยมีประสบการณ์ “เกือบถูกชน” (Near Miss) ในเวลากลางคืนจากรถยนต์ทางด้านข้างมาแล้ว   การออกแบบสภาพถนนที่ไม่ปลอดภัยหลายแห่งสร้างความเสี่ยงสูงต่อการชนด้านข้างในลักษณะนี้ เช่น สะพานอรุณอัมรินทร์ใกล้โรงพยาบาลศิริราช มีทางลาดมาเชื่อมต่อให้รถยนต์แล่นมาขึ้นสะพานได้จากด้านข้างในลักษณะที่เป็นมุมฉากตรงจุดที่อยู่เกือบกลางสะพานทีเดียว  รถที่ขึ้นมาตามทางด้านข้างนี้ถ้าไม่ระมัดระวังให้ดีก็มีโอกาสชนจักรยานที่ขึ้นมาตามแนวสะพานได้ เนื่องจากจักรยานไม่มีไฟหน้าที่สว่างมากเป็นวงกว้างให้รถที่ขึ้นด้านข้างสังเกตเห็น ไฟหรือวัตถุสะท้อนแสงให้ผู้ขับรถเห็นจักรยานได้ชัดเจนขึ้นจากด้านข้างนี้มีหลายชนิด นอกจากตัวอย่างแถบพลาสติกสะท้อนแสงสีขาวติดกับกงล้อและแถบสะท้อนแสงที่ใช้ติดกับกงล้อที่เอามาให้ในภาพนี้แล้ว ยังมีไฟกระพริบที่ใช้ติดกงล้อหรือวาล์วสูบลมล้อ  ในวิดิโอคลิปนี้เป็นนวัตกรรมที่มีการใช้ไฟ LED สร้างภาพเคลื่อนไหวต่างๆ บนล้อจักรยาน ที่นอกจากทำให้เห็นจักรยานได้เด่นชัดแล้ว ยังทำให้คนใช้จักรยานสนุกที่ได้อวดภาพต่างๆ เวลาขี่จักรยานไปไหนมาไหนยามค่ำ  น่าสนใจจะหามาติดกันบ้างนะครับ  คิดว่าราคาน่าจะไม่แพงนัก ***https://www.youtube.com/watch?v=2UWf6LdhFGA&feature=youtu.be**** กวิน  ชุติมา กรรมการชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย และกรรมการ-เหรัญญิกสถาบันการเดินและการจักรยานไทย มกราคม 2560

Read More »

โรแบร์ มาร์ชอง นักจักรยานวัย 105 ทำสถิติใหม่

โรแบร์ มาชองด์ ฉลองความสำเร็จในการทำสถิติใหม่ เพื่อนผู้ใช้จักรยานครับ คุณคิดว่าจะมีชีวิตอยู่จนอายุกี่ปี และจะขี่จักรยานไปจนถึงอายุเท่าใด 100 เป็นไงครับ แต่คนนี้ครับ ชาวฝรั่งเศสชื่อโรแบร์ มาชองด์ (Robert Marchand) เขาอายุครบ 105 ปีไปเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2559 และเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2560 ที่ผ่านมา โรแบร์เพิ่งทำสถิติโลกใหม่สำหรับระยะทางที่นักจักรยานอายุ 105 ปีขึ้นไปขี่ได้ในเวลาหนึ่งชั่วโมง  เขาขี่ไปได้ 22.547 กิโลเมตร   เมื่อห้าปีก่อน เขาได้ทำสถิติโลกไปแล้วหนหนึ่งสำหรับระยะทางที่นักจักรยานอายุ 100 ปีขึ้นไปขี่ได้ในหนึ่งชั่วโมงไว้ที่ 26.927 กิโลเมตร และสถิตินี้ก็ยังไม่มีใครมาแย่งจากคุณปู่โรแบร์ไปได้  คุณปู่บอกว่าขี่ไม่หยุดหนึ่งชั่วโมงนี่ไม่เจ็บขาเลย จะมีเจ็บแขนบ้างก็เป็นเพราะโรคไขข้อ ไม่ใช่เพราะขี่จักรยาน และคุยต่อไปว่า ความจริงเขาน่าจะทำสถิติได้ดีกว่านี้อีกนะถ้าเห็นป้ายที่มีคนยกเตือนว่าเหลือเวลาสิบนาที คงหมายความว่าแกจะใส่แรงอึดสุดท้ายเข้าไปอีก  คุณปู่ทิ้งท้ายไว้ว่า “ข้าไม่ได้มานี่(สนามจักรยานแห่งชาติชานกรุงปารีส)เพื่อเป็นแชมป์ ข้ามานี่เพื่อพิสูจน์ว่า อายุ 105 แล้ว คุณก็ยังขี่จักรยานได้”  สำหรับสถิติโลกระยะทางไกลสุดที่คนขี่จักรยานได้ในเวลาหนึ่งชั่วโมงโดยไม่มีกลุ่มอายุ เป็นของเซอร์แบรดลีย์ วิ๊กกิ้น ชาวอังกฤษ ด้วยระยะทาง 54.526 กิโลเมตร  เขาทำสถิตินี้ไว้เมื่อเดือนมิถุนายน 2558 คุณปู่โรแบร์ขณะขี่จักรยานทำสถิติโลกเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2560 ท่ามกลางเสียงเชียร์ คุณปู่เผยความลับว่าของการมีสุขภาพดีว่าอยู่ที่อาหาร กินผักกับผลไม้เยอะๆ กินเนื้อให้น้อย และอย่าดื่มกาแฟมากเกินไป  อ้อ คุณปู่ออกกำลังกายทุกวันด้วยการขี่จักรยานฝึกอยู่กับที่วันละหนึ่งชั่วโมง  ดูประวัติแล้วแกทำงานใช้กำลังมาตลอดชีวิต เป็นนักโทษสงครามในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง  พอสงครามสงบก็มาเป็นคนขับรถบรรทุก คนงานไร่อ้อยในเวเนซูเอล่า และคนงานตัดไม้ซุงในคานาดา  ด้านกีฬา นอกจากขี่จักรยานแล้ว คุณปู่โรแบร์ยังเคยแข่งยิมนาสติกระดับประเทศและเป็นนักมวยด้วย ___________________________________________________________________________________________________________________ กวิน ชุติมา  กรรมการชมรมจักรยานเพ่อสุขภาพแห่งประเทศไทย และกรรมการ-เหรัญญิก มูลนิธิสถาบันการเดินและการจักรยานไทย เก็บมาเล่าจากข่าวในเว็บไซต์ของสำนักข่าว BBC

Read More »

ขึ้นปีใหม่แล้ว ขอเชิญอีกครั้ง มาขี่จักรยานไปทำงานกันเถอะครับ

บ้านเราในระยะหลังนี้ การขี่จักรยานเป็นกิจกรรมที่ได้รับความนิยมสูงโดยเฉพาะในหมู่คนที่มีกำลังทรัพย์พอจะซื้อจักรยานราคาเป็นหลักหมื่นขึ้น  มีการจัดขี่จักรยานเพื่อออกกำลังกายและท่องเที่ยวกันทุกสุดสัปดาห์แทบทุกจังหวัดทั่วประเทศ   การจัดแข่งจักรยานต่างๆ ก็มีถี่มากจนคนที่ขยันลงแข่งและมีความสามารถสักหน่อยสามารถกวาดถ้วยมาสะสมใส่ตู้โชว์ได้ไม่ยาก  อีกทั้งยังมีการใช้จักรยานเป็นส่วนหนึ่งของการทำกิจกรรมเพื่อสังคมหรือเพื่อสิ่งแวดล้อมอยู่เป็นประจำเช่นกัน  แต่การใช้จักรยานเป็นพาหนะในการเดินทางไปทำกิจการต่างๆ ในชีวิตประจำวันของคนกลุ่มนี้แม้จะเพิ่มขึ้น แต่เมื่อคิดเป็นสัดส่วนของการใช้จักรยานทั้งหมดแล้วก็ยังน้อยมาก สถาบันการเดินและการจักรยานไทยกับชมรมจักรยานจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย จึงขอชวนเชิญอีกครั้งให้เพื่อนผู้ใช้จักรยานออกกำลังกาย ท่องเที่ยว หรือแข่งขัน มาขี่จักรยานไปทำงานด้วย โดยเฉพาะคนที่บ้านไม่ห่างจากที่ทำงานมากนัก  เบื้องต้นก็อาจเอาระยะทาง 5 กิโล เป็นเกณฑ์ ภาพประกอบจาก https://www.pinterest.com/pin/ เริ่มเสียแต่วันนี้เลยครับ และนี่คือเหตุผล(อีกครั้ง)ว่า ทำไมคุณน่าจะขี่จักรยานไปทำงาน ขี่จักรยานไปทำงานถูกกว่าขับรถยนต์ส่วนตัวไปเป็นอย่างยิ่ง สมาคมยานยนต์อเมริกาให้ตัวเลขว่า ในปี 2555 ค่าใช้จ่ายในการเป็นเจ้าของ ดูแล และใช้รถยนต์คันหนึ่งตกอยู่ที่ 8,946 ดอลลาร์ ขณะค่าใช้จ่ายสำหรับการใช้จักรยานตกราว 308 ดอลลาร์ ถูกกว่าเกือบ 30 เท่า  องค์กรสิ่งแวดล้อมชื่อ Sierra Club ให้ข้อมูลว่า หากชาวอเมริกันเดินทางด้วยจักรยานแทนรถยนต์เป็นระยะทางแค่ 6.5 กิโลเมตร เพียงสัปดาห์ละครั้งเดียว ไม่ต้องทุกวันก็ได้ ประเทศสหรัฐอเมริกาจะประหยัดการใช้น้ำมันไปได้รวมราว 8,000 ล้านลิตร หากคิดว่าน้ำมันราคาราวลิตรละ 90 เซนต์ ก็จะประหยัดเงินไปได้ถึง 7,300 ล้านดอลลาร์ต่อปี  สำหรับในไทย สำนักงานสถิติแห่งชาติให้ตัวเลขในปี 2554 ว่า ประชาชนไทยที่เดินหรือใช้จักรยานแทนการใช้รถยนต์แค่สัปดาห์ละ 1 วัน จะประหยัดค่าน้ำมันได้เฉลี่ย 5,200 บาทต่อคันต่อปี โดยคิดจากการจ่ายค่าน้ำมัน 100 บาทต่อวันต่อคัน  ดังนั้นหากขี่จักรยานไปทำงานแทนรถยนต์ทุกวันทำงานก็จะประหยัดได้เพิ่มอีกเป็นอย่างน้อย 5 เท่าหรือกว่า 25,000 บาทต่อปี คุณเอาเงินก้อนใหญ่นี้ไปทำอะไรที่คุณอยากทำได้มากมาย   เป็นการออกกำลังกายโดยไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม ประสบการณ์ที่คนขี่จักรยานเป็นประจำวันทุกคนได้คือ การที่น้ำหนักลดลง มากน้อยแล้วแต่คน  สำหรับคนอเมริกันมีการศึกษาพบว่า ผู้ที่ใช้จักรยานในการเดินทางไปทำงานรายวันแค่ในปีแรกก็มีน้ำหนักลดไป 6 กิโลกรัมแล้ว  คุณหมอลิซา แคลลาแฮน แห่งโรงพยาบาลเพื่อการผ่าตัดพิเศษในนครนิวยอร์กบอกว่า การขี่จักรยานเดินทางเป็นประจำให้ผลดีกับหัวใจอย่างยิ่ง เธอบอกว่า คนส่วนมากที่น้ำหนักเกินและเริ่มออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนักจะคิดถึงการวิ่ง  แต่สำหรับคนน้ำหนักเกินแล้ว การวิ่งอาจส่งผลเสียต่อหัวเข่าและข้อเท้าได้  ดังนั้นการออกกำลังกายที่ไม่ก่อให้เกิดแรงกระแทกกับข้ออย่างการว่ายน้ำและขี่จักรยานจึงเหมาะสมกว่า  ตรงนี้ผู้เขียนขอนำคำแนะนำของข้อมูลองค์การอนามัยโลกมาย้ำอีกครั้งว่า การเดิน ว่ายน้ำ และขี่จักรยาน เป็นการออกกำลังสามอย่างที่ดีที่สุด โดยเฉพาะกับผู้สูงอายุ   ไม่ต้องเผชิญกับรถติด …

Read More »

10 วิธีที่จะช่วยให้คุณได้อะไรๆมากที่สุดจากการเดิน

เวลาพูดกันถึงเรื่องการออกกำลังกาย คนมักจะนึกถึงการวิ่ง เดี๋ยวนี้มีมากคนขึ้นที่นึกถึงการขี่จักรยาน  อีกภาพหนึ่งที่ยังติดตาคือภาพในยิมหรือสถานออกกำลังกาย การวิ่งบนสายพาน การยกน้ำหนัก มี “อุปกรณ์” ต่างๆ มาประกอบ รวมทั้งชุดที่ใช้สวมใส่ออกกำลังกายสวยๆ เป็นแฟชั่นได้เลยโดยเฉพาะสำหรับคุณผู้หญิงทั้งหลาย  ทำให้หลายครั้งเรามองข้ามหรือละเลย “สาระ” ของการออกกำลังกายไป แต่การเดินนั้นแตกต่างออกไป การเดินเป็นการออกกำลังที่ดีเยี่ยมได้ เยี่ยมขนาดที่มีผู้เชี่ยวชาญมากขึ้นเรื่อยออกมาบอกว่าดีกว่าการวิ่งเสียอีก โดยแทบจะไม่ต้องมี “เครื่องประกอบ” ทั้งหลายเลย ไม่ว่า เราจะเดินเพื่อออกกำลังกาย (Physical exercise) หรือเพื่อแค่เป็นกิจกรรมทางกาย (physical activity) ไม่ให้อยู่ในสภาพเนือยนิ่ง(sedentary) ล้วนทำได้อย่างง่าย  เราเดินได้โดยไม่ต้องมีอุปกรณ์พิเศษ ชุดพิเศษ ไม่ต้องมีทักษะมีความเชี่ยวชาญสูง ไม่ต้องมีโค้ชมาแนะหรือกำกับ  การเดินจึงทำได้ง่าย ถูก และดีต่อร่างกายของเราอย่างเหลือล้น  แค่ไปเดินให้ได้เดินก็มีผลดีต่อทั้งร่างกายและจิตใจแล้ว  ยิ่งถ้าเราใช้การเดินเป็นวิธีไปไหนมาไหน มันก็จะเป็นวิธีการเดินทางที่ถูกที่สุด แถมยังดีต่อสิ่งแวดล้อม ดีต่อโลก ของเราอีกด้วย  ดีกว่าการใช้ยานยนต์ทั้งหลายเป็นพะเรอเกวียน  ดังนั้นไม่ว่าคุณจะเดินด้วยเหตุผลหรือจุดมุ่งหมายประการใด การเดินก็จะดีต่อคุณและโลกเสมอ การเดินเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด เยี่ยมที่สุด ในการที่เราแต่ละคนจะมีกิจกรรมแบบแอโรบิก (คือมีการสูดเอาออกซิเจนเข้าไปช่วยเผาผลาญอาหารที่เรากินเข้าไปให้เป็นพลังงานมากขึ้น) ในระดับความเข้มข้นปานกลาง ให้ได้สัปดาห์ละอย่างน้อย 150 นาที ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก เมื่อคุณเห็นชอบกับเรา แล้วตัดสินใจจะเดินกันให้มากขึ้นเป็นประจำ  เราก็ขอนำเอากลเม็ด 10 ประการที่จะช่วยให้คุณได้อะไรมากที่สุดจากการเดินมาบอก  กลเม็ดนี้มาจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่เมืองเบิร์คลี่ (University of California at Berkeley – UCB) ในสหรัฐอเมริกา ดังนี้ครับ เดินวันละครั้ง UCB แนะนำให้คุณเดิน “อย่างมีชีวิตชีวา” คือเดินให้กระฉับกระเฉงสักหน่อย ไม่ใช่แบบทอดน่อง ทุกวันๆ ละอย่างน้อย 30 นาที หรือจะเดิน 60 นาทีสัปดาห์ละ 4 วันก็ได้ แล้วแต่ว่าการจัดเวลาแบบไหนจะเหมาะสมสอดคล้องกับการใช้ชีวิตของคุณมากกว่า คนที่หนัก 68 กิโลกรัม เดิน 5.6 กิโลเมตรในเวลา 1 ชั่วโมงบนพื้นราบ จะเผาไขมันไป 300 แคลอรี่ หรือประมาณ 62 แคลอรี่ต่อการเดิน …

Read More »

วันไร้รถที่กรุงปารีสลดมลพิษทางอากาศลงถึงร้อยละ 40

Credit: Eco Watch นับตั้งแต่เดือนกันยายน 2558 ที่นางแอน ฮิดาลโก นายกเทศมนตรีนครปารีส นำเอามาตรการ “วันไร้รถ” (No Car Day) มาทดลองใช้หนึ่งวันในเมืองหลวงของฝรั่งเศส เพื่อลดมลพิษทางอากาศและทางเสียง ตามที่ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทยได้รายงานไปแล้วนั้น ปรากฏว่าชาวปาริเซียนต้อนรับมาตรการนี้เป็นอย่างดี  ต่อมาเธอจึงได้ขยายการมี “วันไร้รถ” มาเป็นเดือนละวัน กว่าหนึ่งปีที่ดำเนินการมา มาตรการนี้ได้พิสูจน์ให้เห็นความสำเร็จในทุกทาง แม้จะห้ามรถในวันนั้นเพียง 7 ชั่วโมง (11.00 – 18.00 น.) ก็ยังสามารถลดการปล่อยก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์(ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกตัวร้าย ร้ายกว่าคาร์บอนไดออกไซด์เสียอีก) ในย่านหลักของเมืองที่ห้ามรถเข้าไป โดยเฉพาะตามริมแม่น้ำเซนและย่านใจกลางเมืองที่มีการจราจรหนาแน่นที่สุด ลงได้ในวันนั้นถึงร้อยละ 40 และลดในบริเวณอื่นของเมืองที่ไม่ได้ห้ามรถลงได้ร้อยละ 20   (ต้องบอกว่า ความจริงนายกเทศมนตรีฮิดาลโกอยากใช้มาตรการนี้กับทั้งเมือง แต่ตำรวจไม่ยอมครับ ให้แค่ร้อยละ 30 ของเมืองเท่านั้น) ชาวเมืองเองก็มีความสุข ได้พื้นที่สาธารณะที่ถูกคนส่วนน้อยที่ใช้รถยนต์ยึดครองไปคืนมา พวกเขาจัดงานจัดกิจกรรมต่างๆ มากมาย เช่น เล่นฟุตบอล ทำโยคะ และเดินทางไปไหนมาไหนในพื้นที่ห้ามรถด้วยการเดิน ขี่จักรยาน และขนส่งสาธารณะ  นักท่องเที่ยวที่มาเยือนก็พอใจ Credit: Bold Ride ปารีสเอามาตรการ “วันไร้รถ” มาใช้หลังจากปารีสกลายเป็นเมืองที่มีมลพิษทางอากาศเลวร้ายที่สุดในโลก  เมื่ออากาศเย็นลง ควัน(smoke)จากรถยนต์จะรวมกับหมอก(fog)กลายเป็นสม็อก(smog) ที่ครอบคลุมเมืองอย่างหนักจนแทบจะมองไม่เห็นหอไอเฟล สัญญลักษณ์ของเมือง Credit: The Guardian ———————————————————————————————————————————————– กวิน ชุติมา  กรรมการชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย และกรรมการ-เหรัญญิกสถาบันการเดินและการจักรยานไทย   เก็บความจาก Paris Now Has A Monthly “No Car Day” That Brings A 40% Drop In Air Pollution โดย Brianna Acuesta ใน   trueactivist.com    

Read More »

แล้ว SDG มันมาเกี่ยวอะไรกับเรื่อง เดินเรื่องจักรยาน

25 กันยายนปีนี้ (ปี 2559) เป็นวันครบปีพอดีของการที่องค์การสหประชาชาติได้ร่วมกันกำหนดให้มีเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก เป้าหมายที่ว่านี้เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Sustainable Development Goals และเรียกย่อๆ ว่า SDGs

Read More »