Home / Webmaster (page 2)

Webmaster

Children used bicycle to learn to know and develop their hometown

On January 27-28, 2017, children from Phibun Mangsaharn Wiphak Witthayakorn Kindergarten in Phibun Mangsaharn District Town, Ubon Ratchathani Province, in the Northeastern Region of Thailand used bicycle to go around their hometown to survey existing problems with supports from Phibun Mangsaharn Town Municipality, Phibun Mangsaharn District Police Station, local conservation groups, and Thailand Walking and Cycling Institute (TWCI) / Thailand Cycling Club (TCC). Idea behind this activity came from Ranong Province in Thailand’s Southern Region where the Federation of Pedestrians and Bicycle Users in the Upper Southern Region and TWCI/TCC worked with Ranong Kindergarten to promote walking to school.  The …

Read More »

ขนาดนักจักรยานแชมป์โลก แชมป์โอลิมปิกยังสนใจ เรื่องจักรยานชาวบ้าน

ขนาดนักจักรยานแชมป์โลก แชมป์โอลิมปิกยังสนใจ เรื่องจักรยานชาวบ้าน นักจักรยานชาวอังกฤษดังๆระดับโลก เป็นเจ้าของแชมป์เหรียญทอง เจ้าของสถิติมากมาย มีจดหมายถึงนายกรัฐมนตรีของเขา เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน 2559 เรียกร้องให้ นรม. จัดให้มีการอำนวยความสะดวกให้แก่การใช้จักรยานในวิถีชีวิตประจำวันของประชาชน ลองอ่านรายละเอียดดูข้างล่างนี้ http://www.thaicyclingclub.org/wp-content/uploads/2017/01/จดหมายถึง-นรม..ประวัตินักกีฬาจักรยานทีมชาติอังกฤษ.pdf  

Read More »

Bike Community for Health Project Year 2: Mid-project review for the Northern Region

Bike Community for Health Project Year 2: Mid-project review for the Northern Region             Thai Health Promotion Foundation (THPF) join force with Thailand Cycling Club (TCC) to promote cycling as a mean of transport in daily life. THPF and TCC decided to continue with the Bike Communities for Health Project.  In its second year, a total of 99 communities from all four main regions of Thailand have been selected to receive a grant from THPF with TCC to do monitoring work and provide capacity building supports. This second year project, which commenced in July 2016, is now half way of …

Read More »

Promotion of walking and cycling is included in a National Development Plan for the very first time

Promotion of walking and cycling is included in a National Development Plan for the very first time In the Royal Gazette (Thailand’s official publication where a new law is announced) Volume 133 dated 30th December 2016, Office of the National Economic and Social Development Board under the Prime Minister Office published the 12th National Economic and Social Development Plan (NESDP) to be effective from 1st October 2016 to 30th September 2021. This NESDP is to be implemented with 10 strategies of which No.7 is Development of Infrastructure and Logistics. There are six development guidelines for this strategy.  The first one …

Read More »

ไฟติดล้อจักรยาน เพิ่มทั้งความปลอดภัยและความสนุก

ความปลอดภัยในการขี่จักรยานยามค่ำคืนเพิ่มขึ้นแน่นอน หากผู้ใช้ถนนรายอื่นสามารถมองเห็นจักรยานกับคนขี่ได้ชัดเจนมากขึ้น  นี่เป็นเหตุผลที่มาตรา 80 ของพระราชบัญญัติการจราจรทางบก พ.ศ.2522 กำหนดให้จักรยานต้องมีโคมไฟติดหน้ารถให้แสงสีขาวและโคมไฟติดท้ายรถให้แสงสีแดงหรือติดวัตถุที่เมื่อถูกไฟส่องจะให้แสงสะท้อนสีแดง  นอกจากที่กฎหมายกำหนดแล้ว ผู้ใช้จักรยานหลายคนยังติดไฟและแถบสะท้อนแสงเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มความปลอดภัยมากขึ้น เช่น อย่างในภาพข้างล่างนี้เป็นแถบสะท้อนแสงที่มีขายที่ญี่ปุ่นในราคาเพียงชุดละ 30 บาท ทางซ้ายที่ออกสีเขียว-เหลืองใช้ติดตัวกับรถจักรยานอย่างบังโคลนและตัวถัง หรือติดหมวกนิรภัยหรือเป้สะพายหลังได้ด้วย  ส่วนทางขวาเป็นสีขาวใช้ติดกับวงล้อจักรยานได้ตั้งแต่ขนาด 18 ถึง 28 นิ้ว ที่น่าสนใจคือแถบสะท้อนแสงที่ใช้ติดกับวงล้อเพื่อเพิ่มการมองเห็นได้ชัดขึ้นสำหรับรถยนต์ที่มาจากด้านข้างของจักรยาน  เดิมนั้นจักรยานที่ขายในไทยมีแถบพลาสติกสะท้อนแสงสีขาวติดกับกงล้อมาด้วย แต่สังเกตว่าในปัจจุบันจักรยานจำนวนมากไม่มีชิ้นส่วนเพื่อเพิ่มความปลอดภัยนี้ติดให้มาด้วยแล้ว   ทั้งที่ไฟหรือวัตถุสะท้อนแสงให้ผู้ขับรถเห็นจักรยานได้ชัดเจนขึ้นจากด้านข้างนี้สำคัญมากและควรมีติดไว้เป็นอย่างยิ่ง เพราะโคมไฟและวัตถุสะท้อนด้านหน้า-หลังช่วยเพิ่มความสามารถในการมองเห็นของผู้ใช้รถทางด้านหน้าและหลังเท่านั้น ขณะที่ในความเป็นจริง มีรถยนต์แล่นเข้ามาหาจักรยานได้จากทุกทิศทาง  ผู้ใช้จักรยานหลายท่าน รวมทั้งผู้เขียน เคยมีประสบการณ์ “เกือบถูกชน” (Near Miss) ในเวลากลางคืนจากรถยนต์ทางด้านข้างมาแล้ว   การออกแบบสภาพถนนที่ไม่ปลอดภัยหลายแห่งสร้างความเสี่ยงสูงต่อการชนด้านข้างในลักษณะนี้ เช่น สะพานอรุณอัมรินทร์ใกล้โรงพยาบาลศิริราช มีทางลาดมาเชื่อมต่อให้รถยนต์แล่นมาขึ้นสะพานได้จากด้านข้างในลักษณะที่เป็นมุมฉากตรงจุดที่อยู่เกือบกลางสะพานทีเดียว  รถที่ขึ้นมาตามทางด้านข้างนี้ถ้าไม่ระมัดระวังให้ดีก็มีโอกาสชนจักรยานที่ขึ้นมาตามแนวสะพานได้ เนื่องจากจักรยานไม่มีไฟหน้าที่สว่างมากเป็นวงกว้างให้รถที่ขึ้นด้านข้างสังเกตเห็น ไฟหรือวัตถุสะท้อนแสงให้ผู้ขับรถเห็นจักรยานได้ชัดเจนขึ้นจากด้านข้างนี้มีหลายชนิด นอกจากตัวอย่างแถบพลาสติกสะท้อนแสงสีขาวติดกับกงล้อและแถบสะท้อนแสงที่ใช้ติดกับกงล้อที่เอามาให้ในภาพนี้แล้ว ยังมีไฟกระพริบที่ใช้ติดกงล้อหรือวาล์วสูบลมล้อ  ในวิดิโอคลิปนี้เป็นนวัตกรรมที่มีการใช้ไฟ LED สร้างภาพเคลื่อนไหวต่างๆ บนล้อจักรยาน ที่นอกจากทำให้เห็นจักรยานได้เด่นชัดแล้ว ยังทำให้คนใช้จักรยานสนุกที่ได้อวดภาพต่างๆ เวลาขี่จักรยานไปไหนมาไหนยามค่ำ  น่าสนใจจะหามาติดกันบ้างนะครับ  คิดว่าราคาน่าจะไม่แพงนัก ***https://www.youtube.com/watch?v=2UWf6LdhFGA&feature=youtu.be**** กวิน  ชุติมา กรรมการชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย และกรรมการ-เหรัญญิกสถาบันการเดินและการจักรยานไทย มกราคม 2560

Read More »

โรแบร์ มาร์ชอง นักจักรยานวัย 105 ทำสถิติใหม่

โรแบร์ มาชองด์ ฉลองความสำเร็จในการทำสถิติใหม่ เพื่อนผู้ใช้จักรยานครับ คุณคิดว่าจะมีชีวิตอยู่จนอายุกี่ปี และจะขี่จักรยานไปจนถึงอายุเท่าใด 100 เป็นไงครับ แต่คนนี้ครับ ชาวฝรั่งเศสชื่อโรแบร์ มาชองด์ (Robert Marchand) เขาอายุครบ 105 ปีไปเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2559 และเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2560 ที่ผ่านมา โรแบร์เพิ่งทำสถิติโลกใหม่สำหรับระยะทางที่นักจักรยานอายุ 105 ปีขึ้นไปขี่ได้ในเวลาหนึ่งชั่วโมง  เขาขี่ไปได้ 22.547 กิโลเมตร   เมื่อห้าปีก่อน เขาได้ทำสถิติโลกไปแล้วหนหนึ่งสำหรับระยะทางที่นักจักรยานอายุ 100 ปีขึ้นไปขี่ได้ในหนึ่งชั่วโมงไว้ที่ 26.927 กิโลเมตร และสถิตินี้ก็ยังไม่มีใครมาแย่งจากคุณปู่โรแบร์ไปได้  คุณปู่บอกว่าขี่ไม่หยุดหนึ่งชั่วโมงนี่ไม่เจ็บขาเลย จะมีเจ็บแขนบ้างก็เป็นเพราะโรคไขข้อ ไม่ใช่เพราะขี่จักรยาน และคุยต่อไปว่า ความจริงเขาน่าจะทำสถิติได้ดีกว่านี้อีกนะถ้าเห็นป้ายที่มีคนยกเตือนว่าเหลือเวลาสิบนาที คงหมายความว่าแกจะใส่แรงอึดสุดท้ายเข้าไปอีก  คุณปู่ทิ้งท้ายไว้ว่า “ข้าไม่ได้มานี่(สนามจักรยานแห่งชาติชานกรุงปารีส)เพื่อเป็นแชมป์ ข้ามานี่เพื่อพิสูจน์ว่า อายุ 105 แล้ว คุณก็ยังขี่จักรยานได้”  สำหรับสถิติโลกระยะทางไกลสุดที่คนขี่จักรยานได้ในเวลาหนึ่งชั่วโมงโดยไม่มีกลุ่มอายุ เป็นของเซอร์แบรดลีย์ วิ๊กกิ้น ชาวอังกฤษ ด้วยระยะทาง 54.526 กิโลเมตร  เขาทำสถิตินี้ไว้เมื่อเดือนมิถุนายน 2558 คุณปู่โรแบร์ขณะขี่จักรยานทำสถิติโลกเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2560 ท่ามกลางเสียงเชียร์ คุณปู่เผยความลับว่าของการมีสุขภาพดีว่าอยู่ที่อาหาร กินผักกับผลไม้เยอะๆ กินเนื้อให้น้อย และอย่าดื่มกาแฟมากเกินไป  อ้อ คุณปู่ออกกำลังกายทุกวันด้วยการขี่จักรยานฝึกอยู่กับที่วันละหนึ่งชั่วโมง  ดูประวัติแล้วแกทำงานใช้กำลังมาตลอดชีวิต เป็นนักโทษสงครามในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง  พอสงครามสงบก็มาเป็นคนขับรถบรรทุก คนงานไร่อ้อยในเวเนซูเอล่า และคนงานตัดไม้ซุงในคานาดา  ด้านกีฬา นอกจากขี่จักรยานแล้ว คุณปู่โรแบร์ยังเคยแข่งยิมนาสติกระดับประเทศและเป็นนักมวยด้วย ___________________________________________________________________________________________________________________ กวิน ชุติมา  กรรมการชมรมจักรยานเพ่อสุขภาพแห่งประเทศไทย และกรรมการ-เหรัญญิก มูลนิธิสถาบันการเดินและการจักรยานไทย เก็บมาเล่าจากข่าวในเว็บไซต์ของสำนักข่าว BBC

Read More »

TWCI initiated use of bicycle as a wreath in funerals

TWCI initiated use of bicycle as a wreath in Thai funerals In Thailand, Buddhist families in city would normally keep body of their dead relatives for 3-7 days and host a funeral ceremony at a temple where monks would pray for them and relatives, allowing friends and colleagues could come to pay their last respect.  It is also traditional that individuals and organisations with connections to the dead would send wreath with their name on to the funeral.  These wreaths are typically decorated with beautiful fresh flowers and would be thrown away, discarded, after cremation. This practice is a waste …

Read More »

10 วิธีที่จะช่วยให้คุณได้อะไรๆมากที่สุดจากการเดิน

เวลาพูดกันถึงเรื่องการออกกำลังกาย คนมักจะนึกถึงการวิ่ง เดี๋ยวนี้มีมากคนขึ้นที่นึกถึงการขี่จักรยาน  อีกภาพหนึ่งที่ยังติดตาคือภาพในยิมหรือสถานออกกำลังกาย การวิ่งบนสายพาน การยกน้ำหนัก มี “อุปกรณ์” ต่างๆ มาประกอบ รวมทั้งชุดที่ใช้สวมใส่ออกกำลังกายสวยๆ เป็นแฟชั่นได้เลยโดยเฉพาะสำหรับคุณผู้หญิงทั้งหลาย  ทำให้หลายครั้งเรามองข้ามหรือละเลย “สาระ” ของการออกกำลังกายไป แต่การเดินนั้นแตกต่างออกไป การเดินเป็นการออกกำลังที่ดีเยี่ยมได้ เยี่ยมขนาดที่มีผู้เชี่ยวชาญมากขึ้นเรื่อยออกมาบอกว่าดีกว่าการวิ่งเสียอีก โดยแทบจะไม่ต้องมี “เครื่องประกอบ” ทั้งหลายเลย ไม่ว่า เราจะเดินเพื่อออกกำลังกาย (Physical exercise) หรือเพื่อแค่เป็นกิจกรรมทางกาย (physical activity) ไม่ให้อยู่ในสภาพเนือยนิ่ง(sedentary) ล้วนทำได้อย่างง่าย  เราเดินได้โดยไม่ต้องมีอุปกรณ์พิเศษ ชุดพิเศษ ไม่ต้องมีทักษะมีความเชี่ยวชาญสูง ไม่ต้องมีโค้ชมาแนะหรือกำกับ  การเดินจึงทำได้ง่าย ถูก และดีต่อร่างกายของเราอย่างเหลือล้น  แค่ไปเดินให้ได้เดินก็มีผลดีต่อทั้งร่างกายและจิตใจแล้ว  ยิ่งถ้าเราใช้การเดินเป็นวิธีไปไหนมาไหน มันก็จะเป็นวิธีการเดินทางที่ถูกที่สุด แถมยังดีต่อสิ่งแวดล้อม ดีต่อโลก ของเราอีกด้วย  ดีกว่าการใช้ยานยนต์ทั้งหลายเป็นพะเรอเกวียน  ดังนั้นไม่ว่าคุณจะเดินด้วยเหตุผลหรือจุดมุ่งหมายประการใด การเดินก็จะดีต่อคุณและโลกเสมอ การเดินเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด เยี่ยมที่สุด ในการที่เราแต่ละคนจะมีกิจกรรมแบบแอโรบิก (คือมีการสูดเอาออกซิเจนเข้าไปช่วยเผาผลาญอาหารที่เรากินเข้าไปให้เป็นพลังงานมากขึ้น) ในระดับความเข้มข้นปานกลาง ให้ได้สัปดาห์ละอย่างน้อย 150 นาที ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก เมื่อคุณเห็นชอบกับเรา แล้วตัดสินใจจะเดินกันให้มากขึ้นเป็นประจำ  เราก็ขอนำเอากลเม็ด 10 ประการที่จะช่วยให้คุณได้อะไรมากที่สุดจากการเดินมาบอก  กลเม็ดนี้มาจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่เมืองเบิร์คลี่ (University of California at Berkeley – UCB) ในสหรัฐอเมริกา ดังนี้ครับ เดินวันละครั้ง UCB แนะนำให้คุณเดิน “อย่างมีชีวิตชีวา” คือเดินให้กระฉับกระเฉงสักหน่อย ไม่ใช่แบบทอดน่อง ทุกวันๆ ละอย่างน้อย 30 นาที หรือจะเดิน 60 นาทีสัปดาห์ละ 4 วันก็ได้ แล้วแต่ว่าการจัดเวลาแบบไหนจะเหมาะสมสอดคล้องกับการใช้ชีวิตของคุณมากกว่า คนที่หนัก 68 กิโลกรัม เดิน 5.6 กิโลเมตรในเวลา 1 ชั่วโมงบนพื้นราบ จะเผาไขมันไป 300 แคลอรี่ หรือประมาณ 62 แคลอรี่ต่อการเดิน …

Read More »

วันไร้รถที่กรุงปารีสลดมลพิษทางอากาศลงถึงร้อยละ 40

Credit: Eco Watch นับตั้งแต่เดือนกันยายน 2558 ที่นางแอน ฮิดาลโก นายกเทศมนตรีนครปารีส นำเอามาตรการ “วันไร้รถ” (No Car Day) มาทดลองใช้หนึ่งวันในเมืองหลวงของฝรั่งเศส เพื่อลดมลพิษทางอากาศและทางเสียง ตามที่ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทยได้รายงานไปแล้วนั้น ปรากฏว่าชาวปาริเซียนต้อนรับมาตรการนี้เป็นอย่างดี  ต่อมาเธอจึงได้ขยายการมี “วันไร้รถ” มาเป็นเดือนละวัน กว่าหนึ่งปีที่ดำเนินการมา มาตรการนี้ได้พิสูจน์ให้เห็นความสำเร็จในทุกทาง แม้จะห้ามรถในวันนั้นเพียง 7 ชั่วโมง (11.00 – 18.00 น.) ก็ยังสามารถลดการปล่อยก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์(ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกตัวร้าย ร้ายกว่าคาร์บอนไดออกไซด์เสียอีก) ในย่านหลักของเมืองที่ห้ามรถเข้าไป โดยเฉพาะตามริมแม่น้ำเซนและย่านใจกลางเมืองที่มีการจราจรหนาแน่นที่สุด ลงได้ในวันนั้นถึงร้อยละ 40 และลดในบริเวณอื่นของเมืองที่ไม่ได้ห้ามรถลงได้ร้อยละ 20   (ต้องบอกว่า ความจริงนายกเทศมนตรีฮิดาลโกอยากใช้มาตรการนี้กับทั้งเมือง แต่ตำรวจไม่ยอมครับ ให้แค่ร้อยละ 30 ของเมืองเท่านั้น) ชาวเมืองเองก็มีความสุข ได้พื้นที่สาธารณะที่ถูกคนส่วนน้อยที่ใช้รถยนต์ยึดครองไปคืนมา พวกเขาจัดงานจัดกิจกรรมต่างๆ มากมาย เช่น เล่นฟุตบอล ทำโยคะ และเดินทางไปไหนมาไหนในพื้นที่ห้ามรถด้วยการเดิน ขี่จักรยาน และขนส่งสาธารณะ  นักท่องเที่ยวที่มาเยือนก็พอใจ Credit: Bold Ride ปารีสเอามาตรการ “วันไร้รถ” มาใช้หลังจากปารีสกลายเป็นเมืองที่มีมลพิษทางอากาศเลวร้ายที่สุดในโลก  เมื่ออากาศเย็นลง ควัน(smoke)จากรถยนต์จะรวมกับหมอก(fog)กลายเป็นสม็อก(smog) ที่ครอบคลุมเมืองอย่างหนักจนแทบจะมองไม่เห็นหอไอเฟล สัญญลักษณ์ของเมือง Credit: The Guardian ———————————————————————————————————————————————– กวิน ชุติมา  กรรมการชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย และกรรมการ-เหรัญญิกสถาบันการเดินและการจักรยานไทย   เก็บความจาก Paris Now Has A Monthly “No Car Day” That Brings A 40% Drop In Air Pollution โดย Brianna Acuesta ใน   trueactivist.com    

Read More »