Home / Articles / บทความทั่วไป

บทความทั่วไป

Carbon dioxide emissions from passenger transport

Carbon dioxide emissions from passenger transport A wide range of transport options exists, but choosing the one with lowest emissions is not always straightforward. One way to measure your environmental impact is to look at the CO2 emissions per passenger kilometre travelled. Note: CO2 emissions are calculated using an estimate of the amount of CO2 per passenger-kilometre. Different modes of transport are considered, with an average number of passengers per mode used for estimates. As the number of passengers in a vehicle increases, the total CO2 emissions of that vehicle increases, but the emissions per passenger are fewer. The inland …

Read More »

บก. Human Ride ชี้แนวทางการสนับสนุนการใช้จักรยานที่ประสบความสำเร็จ

ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทยทำงานส่งเสริมการใช้จักรยาน โดยเฉพาะการใช้จักรยานเพื่อการสัญจรในชีวิตประจำวัน อย่างเข้มข้นต่อเนื่องมาห้าปี ทั้งการทำงานศึกษาวิจัยให้ได้ข้อมูลองค์ความรู้มาเป็นพื้นฐานในการขับเคลื่อน การทำงานเชิงนโยบายให้ประเทศไทยมีระบบและโครงสร้างที่เอื้อต่อการใช้จักรยาน  การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้กับสังคม และการทำงานกับกลุ่มองค์กรต่างๆ ในการสร้างชุมชนและเครือข่ายของผู้ใช้จักรยาน   จากการที่ไทยก็เช่นเดียวกับประเทศและสังคมต่างๆ ที่ประชาชนส่วนใหญ่เข้ามาอยู่อาศัยใน “เมือง” การทำงานให้เมืองต่างๆ เป็นเมืองที่เอื้อต่อการใช้จักรยานจึงเป็นแนวทางที่สำคัญ ซึ่งชมรมฯ ก็ได้เสนอมาตลอดว่า เมืองๆ หนึ่งจะเป็น “เมืองจักรยาน” หรือเมืองที่เป็นมิตรกับการใช้จักรยานนั้น เราควรจะทำอะไรบ้าง ในช่วงเวลาเดียวกัน นิตยสาร a Day ได้หันมาสนใจเรื่องจักรยานอย่างจริงจัง และจัดทำฉบับพิเศษชื่อ Human Ride ขึ้นมา บอกเล่าถึงเรื่องที่เกี่ยวข้องกับจักรยานและการใช้จักรยานในเมืองและประเทศต่างๆ โดยมีทรงกลด บางยี่ขัน เป็นบรรณาธิการบริหาร  เขาและทีมงานได้เดินทางไปเรียนรู้เรื่องราวที่แวดล้อมจักรยานในเมืองและประเทศเหล่านั้นด้วยตนเอง ทำให้มีความรู้และประสบการณ์ตรงอย่างกว้างขวาง สามารถเปรียบเทียบสถานการณ์ด้านจักรยานในเมืองและประเทศนั้นกับกรุงเทพมหานครและไทยได้ ในนิตยสาร Human Ride ฉบับล่าสุด Volume 4 Number 10 ใช้ชื่อว่า “British Bicycle” ที่ว่าด้วยจักรยานและการใช้จักรยานในสหราชอาณาจักร หรือที่เราเรียกกันว่าอังกฤษ บก.ทรงกลดได้เขียนไว้ในเนื้อหาที่เป็นบทนำส่วนหนึ่งว่า “….การพูดคุยกับนักปั่นจักรยานมากมายในประเทศนี้ ทำให้ผมรู้ว่าสหราชอาณาจักรก็เป็นอีกประเทศที่เพิ่งหันมาสนับสนุนจักรยานอย่างจริงจังเมื่อ 5-6 ปีที่แล้ว พร้อมๆกับเมืองอย่างโตเกียว สิงคโปร์ ไทเป และกรุงเทพฯ นักปั่นชาวไทยเคาะคีย์บอร์ดนินทาทางจักรยานในกรุงเทพฯ กันสนุกปากยังไง ทางจักรยานชุดแรกในทุกประเทศที่ว่ามาก็โดนนักปั่นในบ้านเมืองเขาบ่นไม่ต่างกัน แต่สิ่งที่ทุกเมืองที่ว่ามาแตกต่างจากกรุงเทพฯ และหลายเมืองในประเทศไทยอยู่บ้าง ก็คือ หนึ่ง เขาใช้ทางจักรยานที่ไม่ลงตัวเป็นบทเรียนเพื่อปรับให้ทางจักรยานเส้นใหม่ใช้งานได้ดีขึ้น สอง งบประมาณเพื่อการสนับสนุนการใช้จักรยานส่วนใหญ่ใช้ไปกับการลงทุนสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานสำหรับจักรยาน ไม่ใช่จัดทริปปั่นจักรยาน สาม การวัดความสำเร็จไม่ได้นับจำนวนคนที่มาร่วมทริปปั่นจักรยาน แต่ดูจากจำนวนคนที่ใช้จักรยานเพื่อการสัญจร สี่ การลงทุนพัฒนาทางจักรยานในเมืองไม่ได้ทำเพื่อเอาใจนักปั่น แต่เป็นการทำให้เมืองดีขึ้น เพราะถ้าคนใช้จักรยานแทนรถยนต์มากขึ้น การจราจรจะดีขึ้น คุณภาพอากาศดีขึ้น ชุมชนน่าอยู่ขึ้น และปลอดภัยขึ้น (รถยนต์ที่น้อยลงและแล่นช้าลง ช่วยลดอุบัติเหตุที่จะเกิดกับคนเดินเท้าและเด็กๆ) คนที่ได้รับประโยชน์จึงไม่ได้มีแต่คนใช้จักรยาน แต่เป็นทุกคนในเมือง ห้า ทิศทางการพัฒนาเรื่องจักรยานในเมืองถูกวางแผนโดยผู้เชี่ยวชาญทั้งนักวิชาการและภาคประชาชน ให้เป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาการจราจรและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เมืองน่าอยู่….” นอกจากนั้น Human Ride ฉบับนี้ยังได้นำวิสัยทัศน์เรื่องการพัฒนาระบบจักรยานในลอนดอน (The Mayor’s Vision for Cycling in London) ของนายบอริส …

Read More »

ขนาดนักจักรยานแชมป์โลก แชมป์โอลิมปิกยังสนใจ เรื่องจักรยานชาวบ้าน

ขนาดนักจักรยานแชมป์โลก แชมป์โอลิมปิกยังสนใจ เรื่องจักรยานชาวบ้าน นักจักรยานชาวอังกฤษดังๆระดับโลก เป็นเจ้าของแชมป์เหรียญทอง เจ้าของสถิติมากมาย มีจดหมายถึงนายกรัฐมนตรีของเขา เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน 2559 เรียกร้องให้ นรม. จัดให้มีการอำนวยความสะดวกให้แก่การใช้จักรยานในวิถีชีวิตประจำวันของประชาชน ลองอ่านรายละเอียดดูข้างล่างนี้ http://www.thaicyclingclub.org/wp-content/uploads/2017/01/จดหมายถึง-นรม..ประวัตินักกีฬาจักรยานทีมชาติอังกฤษ.pdf  

Read More »

โรแบร์ มาร์ชอง นักจักรยานวัย 105 ทำสถิติใหม่

โรแบร์ มาชองด์ ฉลองความสำเร็จในการทำสถิติใหม่ เพื่อนผู้ใช้จักรยานครับ คุณคิดว่าจะมีชีวิตอยู่จนอายุกี่ปี และจะขี่จักรยานไปจนถึงอายุเท่าใด 100 เป็นไงครับ แต่คนนี้ครับ ชาวฝรั่งเศสชื่อโรแบร์ มาชองด์ (Robert Marchand) เขาอายุครบ 105 ปีไปเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2559 และเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2560 ที่ผ่านมา โรแบร์เพิ่งทำสถิติโลกใหม่สำหรับระยะทางที่นักจักรยานอายุ 105 ปีขึ้นไปขี่ได้ในเวลาหนึ่งชั่วโมง  เขาขี่ไปได้ 22.547 กิโลเมตร   เมื่อห้าปีก่อน เขาได้ทำสถิติโลกไปแล้วหนหนึ่งสำหรับระยะทางที่นักจักรยานอายุ 100 ปีขึ้นไปขี่ได้ในหนึ่งชั่วโมงไว้ที่ 26.927 กิโลเมตร และสถิตินี้ก็ยังไม่มีใครมาแย่งจากคุณปู่โรแบร์ไปได้  คุณปู่บอกว่าขี่ไม่หยุดหนึ่งชั่วโมงนี่ไม่เจ็บขาเลย จะมีเจ็บแขนบ้างก็เป็นเพราะโรคไขข้อ ไม่ใช่เพราะขี่จักรยาน และคุยต่อไปว่า ความจริงเขาน่าจะทำสถิติได้ดีกว่านี้อีกนะถ้าเห็นป้ายที่มีคนยกเตือนว่าเหลือเวลาสิบนาที คงหมายความว่าแกจะใส่แรงอึดสุดท้ายเข้าไปอีก  คุณปู่ทิ้งท้ายไว้ว่า “ข้าไม่ได้มานี่(สนามจักรยานแห่งชาติชานกรุงปารีส)เพื่อเป็นแชมป์ ข้ามานี่เพื่อพิสูจน์ว่า อายุ 105 แล้ว คุณก็ยังขี่จักรยานได้”  สำหรับสถิติโลกระยะทางไกลสุดที่คนขี่จักรยานได้ในเวลาหนึ่งชั่วโมงโดยไม่มีกลุ่มอายุ เป็นของเซอร์แบรดลีย์ วิ๊กกิ้น ชาวอังกฤษ ด้วยระยะทาง 54.526 กิโลเมตร  เขาทำสถิตินี้ไว้เมื่อเดือนมิถุนายน 2558 คุณปู่โรแบร์ขณะขี่จักรยานทำสถิติโลกเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2560 ท่ามกลางเสียงเชียร์ คุณปู่เผยความลับว่าของการมีสุขภาพดีว่าอยู่ที่อาหาร กินผักกับผลไม้เยอะๆ กินเนื้อให้น้อย และอย่าดื่มกาแฟมากเกินไป  อ้อ คุณปู่ออกกำลังกายทุกวันด้วยการขี่จักรยานฝึกอยู่กับที่วันละหนึ่งชั่วโมง  ดูประวัติแล้วแกทำงานใช้กำลังมาตลอดชีวิต เป็นนักโทษสงครามในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง  พอสงครามสงบก็มาเป็นคนขับรถบรรทุก คนงานไร่อ้อยในเวเนซูเอล่า และคนงานตัดไม้ซุงในคานาดา  ด้านกีฬา นอกจากขี่จักรยานแล้ว คุณปู่โรแบร์ยังเคยแข่งยิมนาสติกระดับประเทศและเป็นนักมวยด้วย ___________________________________________________________________________________________________________________ กวิน ชุติมา  กรรมการชมรมจักรยานเพ่อสุขภาพแห่งประเทศไทย และกรรมการ-เหรัญญิก มูลนิธิสถาบันการเดินและการจักรยานไทย เก็บมาเล่าจากข่าวในเว็บไซต์ของสำนักข่าว BBC

Read More »

10 วิธีที่จะช่วยให้คุณได้อะไรๆมากที่สุดจากการเดิน

เวลาพูดกันถึงเรื่องการออกกำลังกาย คนมักจะนึกถึงการวิ่ง เดี๋ยวนี้มีมากคนขึ้นที่นึกถึงการขี่จักรยาน  อีกภาพหนึ่งที่ยังติดตาคือภาพในยิมหรือสถานออกกำลังกาย การวิ่งบนสายพาน การยกน้ำหนัก มี “อุปกรณ์” ต่างๆ มาประกอบ รวมทั้งชุดที่ใช้สวมใส่ออกกำลังกายสวยๆ เป็นแฟชั่นได้เลยโดยเฉพาะสำหรับคุณผู้หญิงทั้งหลาย  ทำให้หลายครั้งเรามองข้ามหรือละเลย “สาระ” ของการออกกำลังกายไป แต่การเดินนั้นแตกต่างออกไป การเดินเป็นการออกกำลังที่ดีเยี่ยมได้ เยี่ยมขนาดที่มีผู้เชี่ยวชาญมากขึ้นเรื่อยออกมาบอกว่าดีกว่าการวิ่งเสียอีก โดยแทบจะไม่ต้องมี “เครื่องประกอบ” ทั้งหลายเลย ไม่ว่า เราจะเดินเพื่อออกกำลังกาย (Physical exercise) หรือเพื่อแค่เป็นกิจกรรมทางกาย (physical activity) ไม่ให้อยู่ในสภาพเนือยนิ่ง(sedentary) ล้วนทำได้อย่างง่าย  เราเดินได้โดยไม่ต้องมีอุปกรณ์พิเศษ ชุดพิเศษ ไม่ต้องมีทักษะมีความเชี่ยวชาญสูง ไม่ต้องมีโค้ชมาแนะหรือกำกับ  การเดินจึงทำได้ง่าย ถูก และดีต่อร่างกายของเราอย่างเหลือล้น  แค่ไปเดินให้ได้เดินก็มีผลดีต่อทั้งร่างกายและจิตใจแล้ว  ยิ่งถ้าเราใช้การเดินเป็นวิธีไปไหนมาไหน มันก็จะเป็นวิธีการเดินทางที่ถูกที่สุด แถมยังดีต่อสิ่งแวดล้อม ดีต่อโลก ของเราอีกด้วย  ดีกว่าการใช้ยานยนต์ทั้งหลายเป็นพะเรอเกวียน  ดังนั้นไม่ว่าคุณจะเดินด้วยเหตุผลหรือจุดมุ่งหมายประการใด การเดินก็จะดีต่อคุณและโลกเสมอ การเดินเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด เยี่ยมที่สุด ในการที่เราแต่ละคนจะมีกิจกรรมแบบแอโรบิก (คือมีการสูดเอาออกซิเจนเข้าไปช่วยเผาผลาญอาหารที่เรากินเข้าไปให้เป็นพลังงานมากขึ้น) ในระดับความเข้มข้นปานกลาง ให้ได้สัปดาห์ละอย่างน้อย 150 นาที ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก เมื่อคุณเห็นชอบกับเรา แล้วตัดสินใจจะเดินกันให้มากขึ้นเป็นประจำ  เราก็ขอนำเอากลเม็ด 10 ประการที่จะช่วยให้คุณได้อะไรมากที่สุดจากการเดินมาบอก  กลเม็ดนี้มาจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่เมืองเบิร์คลี่ (University of California at Berkeley – UCB) ในสหรัฐอเมริกา ดังนี้ครับ เดินวันละครั้ง UCB แนะนำให้คุณเดิน “อย่างมีชีวิตชีวา” คือเดินให้กระฉับกระเฉงสักหน่อย ไม่ใช่แบบทอดน่อง ทุกวันๆ ละอย่างน้อย 30 นาที หรือจะเดิน 60 นาทีสัปดาห์ละ 4 วันก็ได้ แล้วแต่ว่าการจัดเวลาแบบไหนจะเหมาะสมสอดคล้องกับการใช้ชีวิตของคุณมากกว่า คนที่หนัก 68 กิโลกรัม เดิน 5.6 กิโลเมตรในเวลา 1 ชั่วโมงบนพื้นราบ จะเผาไขมันไป 300 แคลอรี่ หรือประมาณ 62 แคลอรี่ต่อการเดิน …

Read More »

วันไร้รถที่กรุงปารีสลดมลพิษทางอากาศลงถึงร้อยละ 40

Credit: Eco Watch นับตั้งแต่เดือนกันยายน 2558 ที่นางแอน ฮิดาลโก นายกเทศมนตรีนครปารีส นำเอามาตรการ “วันไร้รถ” (No Car Day) มาทดลองใช้หนึ่งวันในเมืองหลวงของฝรั่งเศส เพื่อลดมลพิษทางอากาศและทางเสียง ตามที่ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทยได้รายงานไปแล้วนั้น ปรากฏว่าชาวปาริเซียนต้อนรับมาตรการนี้เป็นอย่างดี  ต่อมาเธอจึงได้ขยายการมี “วันไร้รถ” มาเป็นเดือนละวัน กว่าหนึ่งปีที่ดำเนินการมา มาตรการนี้ได้พิสูจน์ให้เห็นความสำเร็จในทุกทาง แม้จะห้ามรถในวันนั้นเพียง 7 ชั่วโมง (11.00 – 18.00 น.) ก็ยังสามารถลดการปล่อยก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์(ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกตัวร้าย ร้ายกว่าคาร์บอนไดออกไซด์เสียอีก) ในย่านหลักของเมืองที่ห้ามรถเข้าไป โดยเฉพาะตามริมแม่น้ำเซนและย่านใจกลางเมืองที่มีการจราจรหนาแน่นที่สุด ลงได้ในวันนั้นถึงร้อยละ 40 และลดในบริเวณอื่นของเมืองที่ไม่ได้ห้ามรถลงได้ร้อยละ 20   (ต้องบอกว่า ความจริงนายกเทศมนตรีฮิดาลโกอยากใช้มาตรการนี้กับทั้งเมือง แต่ตำรวจไม่ยอมครับ ให้แค่ร้อยละ 30 ของเมืองเท่านั้น) ชาวเมืองเองก็มีความสุข ได้พื้นที่สาธารณะที่ถูกคนส่วนน้อยที่ใช้รถยนต์ยึดครองไปคืนมา พวกเขาจัดงานจัดกิจกรรมต่างๆ มากมาย เช่น เล่นฟุตบอล ทำโยคะ และเดินทางไปไหนมาไหนในพื้นที่ห้ามรถด้วยการเดิน ขี่จักรยาน และขนส่งสาธารณะ  นักท่องเที่ยวที่มาเยือนก็พอใจ Credit: Bold Ride ปารีสเอามาตรการ “วันไร้รถ” มาใช้หลังจากปารีสกลายเป็นเมืองที่มีมลพิษทางอากาศเลวร้ายที่สุดในโลก  เมื่ออากาศเย็นลง ควัน(smoke)จากรถยนต์จะรวมกับหมอก(fog)กลายเป็นสม็อก(smog) ที่ครอบคลุมเมืองอย่างหนักจนแทบจะมองไม่เห็นหอไอเฟล สัญญลักษณ์ของเมือง Credit: The Guardian ———————————————————————————————————————————————– กวิน ชุติมา  กรรมการชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย และกรรมการ-เหรัญญิกสถาบันการเดินและการจักรยานไทย   เก็บความจาก Paris Now Has A Monthly “No Car Day” That Brings A 40% Drop In Air Pollution โดย Brianna Acuesta ใน   trueactivist.com    

Read More »

ทิ้งรถหันมาใช้จักรยานและขนส่งสาธารณะให้มากขึ้นกันดีกว่า คุณจะได้ทั้งเงินและชีวิต

เราทุกคนที่มีรถยนต์รู้ดีจากประสบการณ์ของตนเองว่า การใช้รถยนต์นั้นมีค่าใช้จ่ายมากมาย  นอกจากเงินที่ต้องจ่ายซื้อรถคนนั้นมาในเบื้องแรกแล้ว ต่อๆไปคุณต้องจ่ายค่าเชื้อเพลิง ค่าดูแลบำรุงรักษาและซ่อมแซม ค่าทะเบียนและค่าประกัน แล้วรถก็ยังเสื่อมราคาและหมดอายุการใช้งานไปในที่สุด ต้องซื้อหาคันใหม่  เหล่านี้มีแต่เงินต้องไหลออกจากกระเป๋าของคุณไป เพื่อซื้อสิ่งที่คุณคิดว่าสำคัญในการใช้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นยานพาหนะในการเดินทางที่จำเป็น ความสะดวกสบาย หรือแม้แต่สถานะทางสังคมที่ติดมากับการมีรถยนต์ แต่ถ้าตัดข้อแรก คือการเป็นยานพาหนะที่จำเป็นในการเดินทางในชีวิตประจำวัน เช่น ที่พักอาศัยอยู่ห่างไกลจากสถานที่ทำงานเกินกว่าจะเดินหรือขี่จักรยานสบายๆ และไม่มีขนส่งสาธารณะให้บริการ ออกไปแล้ว  คุณจะพบว่า การเดิน ใช้จักรยาน และใช้ขนส่งสาธารณะ แม้จะมีค่าใช้จ่ายเช่นกัน แต่ก็ไม่มาก แม้จะรวมค่าแท็กซี่-ค่าเช่ารถและเชื้อเพลิงในโอกาสที่จำเป็นต้องใช้รถจริงๆ โดยรวมแล้วคุณก็ยังประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากมาย มากน้อยขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่างๆ ของแต่ละคน นี่ยังไม่รวมถึงผลประโยชน์ที่ได้ทางด้านสุขภาพจากการขี่จักรยาน คุณลดค่าใช้จ่ายไปได้อีกมากจากการมีสุขภาพดี ไม่เจ็บป่วย แล้วยังมีการที่ไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายที่เกิดจากการชนเมื่อคุณใช้รถยนต์อีก  มีคนเปรียบเทียบจักรยานเหมือนกับ “เครื่องพิมพ์ธนบัตร” เพราะเมื่อเลิกใช้รถยนต์ส่วนตัวหันมาใช้จักรยาน จะมีเงินเหลือมาใช้อีกมาก หรือเหมือนกับ “น้ำพุแห่งความเยาว์วัย” ที่ทำให้คนอ่อนกว่าวัย สดชื่นกระชุ่มกระชวยอยู่เสมอ เปรียบเทียบกันถึงขนาดนี้อาจจะ “เว่อร์” เกินไป  แต่ที่สหรัฐอเมริกา เขามีสถิติตัวเลขของประเทศที่เอามาคิดคำนวณได้ว่า ผลสุทธิของการขับรถด้วยความเร็ว 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คือการมีอายุสั้นลง 20 นาที หรืออายุสั้นลง 18 วินาทีทุก 1  ไมล์(1.6 กิโลเมตร)ที่ขับรถ  ส่วนผลสุทธิของการขี่จักรยานด้วยความเร็ว 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คือการมีอายุยาวขึ้น 2 ชั่วโมง 36 นาที หรืออายุยืนขึ้น 13 นาทีทุก 1 ไมล์ที่ขี่จักรยาน ดังนั้นก็อาจจะไม่ “เว่อร์” ไม่เกินเลยไปที่จะกล่าวว่า ทิ้งรถหันมาใช้จักรยาน(และขนส่งสาธารณะ)ให้มากขึ้นกันดีกว่า คุณจะได้ทั้งเงินและชีวิต ส่วนในไทยของเรานั้น ยังไม่มีตัวเลขจากการศึกษาผลของการใช้รถยนต์กับผลของการใช้จักรยานมาเปรียบเทียบกัน แต่ก็เป็นไปได้สูงว่าจะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทีนี้หากจะ “ทิ้งรถ” หันมาใช้จักรยานและขนส่งสาธารณะเป็นวิธีในการเดินทางจริงๆ ก็ควรพยายามหาทางทำให้ง่ายให้สะดวกขึ้นด้วย เช่นว่า หาซื้อจักรยานมาใช้เองสักคัน, เรียนรู้ระบบขนส่งสาธารณะในเมืองของคุณให้ทะลุปรุโปร่ง ขึ้นตรงไหน ลงตรงไหน เปลี่ยนรถ-ต่อรถตรงไหนให้ไปได้สะดวกและรวดเร็วที่สุด หากเป็นไปได้ การย้ายไปอยู่ใกล้จุดที่เข้าสู่ระบบขนส่งสาธารณะ(ป้ายรถประจำทาง สถานีรถไฟฟ้า)ก็เป็นสิ่งที่น่าพิจารณา และหาข้อมูลด้วยว่าหากต้องใช้แท็กซี่หรือรถเช่า จะใช้บริการของบริษัทไหน คนขับใด ดีที่สุด ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทยเคยมีแผ่นพับที่สมาชิกคนหนึ่งให้ข้อมูลว่า การเปลี่ยนมาใช้จักรยานในการเดินทางไปทำงานช่วยประหยัดเงินให้เขาได้มากเพียงใด ถ้าจำไม่ผิดก็เดือนละกว่าพันบาท ใช้จักรยานไม่กี่เดือนก็ประหยัดเงินได้มากกว่าราคาจักรยานแล้ว …

Read More »

แมดริดเจ๋ง ทำทางข้ามให้มีสีสันเพิ่มความปลอดภัย

เวลาคุณข้ามถนน  เคยสนใจจริงๆ บ้างไหมครับว่า ทางข้าม(ไม่ว่าจะเป็นทางม้าลายหรือเป็นแบบอื่น)นั้นเป็นอย่างไร คุณสนใจมันก็เพียงว่า ข้ามถนนตรงนั้นแล้ว “คุณอาจจะปลอดภัย ไม่ถูกรถชนตาย” ซึ่งคุณก็รู้ว่าในประเทศไทยเรานี้ไม่จริงเสมอไป แต่ถ้าทางข้ามจะเป็นอะไรมากกว่าการทาเส้นหรือแถบสีขาวลงบนพื้นถนนล่ะ ถ้ามันต่างไปล่ะ มีลวดลายและสีสันสดใสเจิดจ้า จะเป็นอย่างไร? ศิลปินคริสโต เกอลอฟ (Christo Guelov) ได้เปลี่ยนทางข้ามถนนในกรุงแมดริด เมืองหลวงของประเทศสเปน ให้กลายเป็นงานศิลปะ  เขาวาดรูปทรงและแบบแผนทางเรขาคณิตต่างๆ ด้วยสีสันที่สดใสลงในช่องว่างระหว่างเส้นและแถบสีขาวของทางม้าลาย  ผลก็คือทางข้ามนั้นสะดุดตาขึ้นมาทันที ทั้งต่อคนข้ามและคนขับรถ ทั้งยังทำให้ทางม้าลายที่ดูน่าเบื่อนั้นสวยงามด้วย  คุณเกอลอฟหวังว่า ทางข้ามสีสันสดใสนี้จะดึงดูดให้คนใช้ทางข้ามมากขึ้นแทนที่จะข้ามถนนตามใจชอบ และคนขับรถก็เห็นทางข้ามชัดขึ้น ระมัดระวังและเคารพ-หยุดให้คนข้ามถนนมากขึ้นด้วย เชิญทัศนาภาพทางข้ามที่เกอลอฟทำให้เป็นงานศิลปะเพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการใช้ถนนในกรุงแมดริดได้ข้างล่างนี้เลยครับ กทม. หรือเทศบาล หรือองค์กรปกครองท้องถิ่น ที่ไหนในไทย จะเอาแนวคิดนี้ไปทำบ้างก็น่าสนใจนะครับ กวิน ชุติมา  กรรมการชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย และกรรมการ-เหรัญญิกสถาบันการเดินและการจักรยานไทย เก็บมาเสนอจาก lostateminor.com

Read More »

เมืองที่น่าเดินเป็นอย่างไร

เดินใต้ร่มเงาซากุระบาน (ภาพโดย Lloyd Alter) การทำให้เมือง “น่าเดิน” คนในเมืองเดินมากๆ กลายเป็นประเด็นหนึ่งที่ได้รับความสนใจจากกลุ่มคนและองค์กรที่ทำงานหลายด้าน เนื่องจากการเดิน โดยเฉพาะการใช้การเดินเป็นวิธีเดินทางไปไหนมาไหนเพื่อประกอบกิจในชีวิตประจำวัน เช่น ไปทำงาน ไปเรียน ไปจับจ่ายซื้อของ ฯลฯ ให้ผลดีทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ ด้านคมนาคมขนส่ง ด้านสิ่งแวดล้อม  และแม้แต่ด้านเศรษฐกิจ แล้วทำอย่างไรเล่า เมืองจึงจะ “น่าเดิน” จึงมีการศึกษาวิจัยในเรื่องนี้ออกมามากขึ้นเรื่อยเช่นเดียวกัน  ขอนำการศึกษาใหม่ชิ้นหนึ่งมาเล่าสู่กันฟัง ศาสตราจารย์ เจมส์ เอฟ ซาลลิส กับคณะผู้ทำการศึกษาชิ้นนี้ ใช้วิธีการที่ทันสมัย ซับซ้อน และละเอียด มากขึ้นกว่าการศึกษาครั้งก่อนๆ ที่ทำกัน ด้วยการใช้เครื่องติดตามการออกกำลังกายอิเล็กโทรนิก กับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ สอดส่องติดตามพฤติกรรมของผู้ใหญ่ 6,822 คนในเมืองใหญ่ 14 แห่งใน 10 ประเทศ  ข้อมูลที่เก็บมาได้ทำให้เขาสามารถเปรียบเทียบปริมาณการมีกิจกรรมทางกาย/การออกกำลังกายของผู้เข้าร่วมการศึกษาแต่ละคน กับข้อมูลการใช้ที่ดินในละแวกบ้านที่อยู่ติดกันของผู้เข้าร่วมการศึกษาแต่ละคน  จากนั้นพวกเขาใช้การวิเคราะห์ทางสถิติมาพิจารณาว่า มีลักษณะเฉพาะของการใช้ที่ดินอย่างใดบ้างไหมที่มีความสัมพันธ์อย่างสำคัญกับการมีกิจกรรมทางกายในระดับปานกลางไปจนถึงระดับแข็งขัน   ผลที่ได้ออกมาน่าสนใจ คือพวกเขาพบปัจจัยสี่ประการที่สำคัญเป็นพิเศษ  ปัจจัยทั้งสี่นี้ยิ่งมีมาก คนก็จะเดินมากขึ้นตามไปด้วย ความหนาแน่นของที่อยู่อาศัย: จะต้องมีบ้านพักหรือที่อยู่อาศัยมากถึงจำนวนหนึ่งในละแวกย่านจึงจะมีประชากรมากพอที่ร้านค้าและสถานที่ให้บริการด้านต่างๆ จะดำรงอยู่ได้ในทางเศรษฐกิจภายในระยะที่เดินถึง ความหนาแน่นของจุดตัดของทาง: การมีถนน/ทางที่เชื่อมต่อกันเป็นอย่างดีมักจะทำให้ระยะทางที่ต้องใช้ในการเดินทางสั้นลง และทำให้สถานที่ที่เป็นจุดหมายปลายทางของการเดินทางอยู่ในระยะที่เดินถึงได้ ความหนาแน่นของขนส่งสาธารณะ: ยิ่งมีจุดที่จอดรับ-ส่งผู้โดยสารของขนส่งสาธารณะ(รถประจำทาง รถไฟฟ้า ฯลฯ)ในระยะที่เดินถึงมากเท่าใด ผู้อยู่อาศัยในย่านนั้นก็จะมีทางเลือกในวิธีการเดินทางมากขึ้น และเลือกที่จะใช้วิธีเดินและขนส่งสาธารณะนั้นมากขึ้น การเข้าถึงพื้นที่สาธารณะ: สวน พื้นที่สีเขียว จัตุรัส และพื้นที่ว่างต่างๆ ที่เป็นพื้นที่สาธารณะ ไม่เพียงแต่เป็นสถานที่ให้คนได้ออกกำลังกาย ได้พักผ่อนหย่อน แต่ยังเป็นสถานที่ให้ชุมชนหรือละแวกบ้านทำกิจกรรมร่วมกันเป็นสังคมได้อีกหลากหลายด้วย  เมื่อมีพื้นที่สาธารณะเหล่านั้นในระยะที่เดินถึง คนก็จะไปใช้ เดินมากขึ้น และได้มีกิจกรรมทางกาย/ออกกำลังกายขณะที่เดินไปด้วย ดังนั้นหากจะให้เมืองหนึ่งๆ “น่าเดิน” คนในเมืองนั้นเดินมากขึ้น หน่วยงานที่วางผังเมืองในภาพรวมต้องทำงานร่วมกับองค์กรปกครองท้องถิ่น หน่วยงานด้านการจัดสร้างที่อยู่อาศัย หน่วยงานด้านการคมนาคมขนส่ง ฯลฯ ในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางกายภาพของเมืองให้มีปัจจัยทั้งสี่เหล่านี้   กวิน ชุติมา  กรรมการชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย และกรรมการ-เหรัญญิกสถาบันการเดินและการจักรยานไทย

Read More »

การใช้จักรยานสร้างมูลค่าปีละกว่าห้าแสนล้านยูโรใน 28 ประเทศของยุโรป

สหพันธ์ผู้ใช้จักรยานยุโรป (European Cyclists’ Federation – ECF) คิดคำนวณออกมาได้ว่า การใช้จักรยานใน 28 รัฐที่เป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป สร้างผลประโยชน์เป็นมูลค่าถึงปีละ 513,000 ล้านยูโร หรือราว 20 ล้านล้านบาท  การค้นพบใหม่นี้มีอยู่ในรายงาน “เศรษฐศาสตร์การใช้จักรยานของสหภาพยุโรป” ที่ ECF เป็นผู้จัดทำและเปิดตัวไปเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2559 ที่ผ่านมาในกรุงบรัสเซลล์ รายงานฉบับนี้เป็นฉบับที่สอง (ฉบับแรกออกมาเมื่อปี 2013) โดยใช้ตัวเลขล่าสุด มีการปรับปรุงวิธีการคำนวณและเพิ่มผลประโยชน์ใหม่เข้าไปอย่างเป็นระบบ ออกมาเป็นผลรวมโดยประมาณได้ว่า การใช้จักรยานใน 28 ประเทศของสหภาพยุโรปก่อให้เกิดผลประโยชน์ดังนี้: ด้านสุขภาพ 191 พันล้านยูโร, ด้านเวลาและพื้นที่ 131 พันล้านยูโร, ด้านเศรษฐกิจ 63 พันล้านยูโร, ด้านกิจการสังคม 50 พันล้านยูโร, ด้านการเคลื่อนที่เดินทาง 30 พันล้านยูโร, ด้านเทคโนโลยีและการออกแบบ 20 พันล้านยูโร, ด้านสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ 15.5 พันล้านยูโร, ด้านความหลากหลายของวัฒนธรรม 10 พันล้านยูโร และด้านพลังงานและทรัพยากร 3 พันล้านยูโร รายงานแสดงให้เห็นว่า ผลประโยชน์ของการใช้จักรยานไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะด้าน เช่น ด้านการคมนาคมขนส่ง หรือด้านสิ่งแวดล้อม โดยแยกจากด้านอื่นๆ แต่ยังได้ในอีกหลายๆ ด้านที่สหภาพยุโรปทำได้ดีด้วย เช่น อุตสาหกรรม การจ้างงาน และยังขยายออกไปถึงประเด็นทางสังคมอื่น อย่างเช่น การผนวกรวมผู้ลี้ภัยเข้าสู่สังคม การเข้าถึงระบบการเคลื่อนที่เดินทาง เป็นต้น  แสดงให้เห็นว่าการใช้จักรยานมีส่วนช่วยเศรษฐกิจของยุโรปโดยทั่วไปเป็นอย่างมาก ECF ชี้ว่า เพื่อที่จะให้ได้ประโยชน์ยิ่งๆขึ้นไปอีก รัฐสมาชิกของสหภาพยุโรปต้องมียุทธศาสตร์การใช้จักรยานร่วมกันที่นำเอานโยบายด้านต่างๆ ทั้งหมดมาพิจารณา  นอกจากนั้นผลประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้จักรยานอาจสูงมากขึ้นไปอีกถ้ามีข้อมูลในการวิเคราะห์มากกว่านี้ บางด้านนั้นเห็นอยู่ว่ามีการได้ประโยชน์จากการใช้จักรยาน แต่ไม่สามารถเอาตัวเลขชัดๆ หรือตัวเลขประเมินมาแสดงได้ ดังนั้นต่อไปก็จำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยในเรื่องนี้ให้มากขึ้น เพื่อให้ได้ภาพที่ถูกต้องแม่นยำถึงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของการใช้จักรยาน มามองดูประเทศไทยของเราบ้าง ขณะนี้ยังไม่มีการศึกษาลักษณะนี้ คงเป็นงานหนึ่งที่สถาบันการเดินและการจักรยานไทยจะดำเนินการต่อไปในอนาคตเพื่อให้เรามีภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้นถึงมูลค่าทางเศรษฐกิจของการใช้จักรยานในประเทศของเรา ซึ่งอาจจะช่วยในการผลักดันให้รัฐบาลไทยหันมาส่งเสริมการใช้จักรยานในชีวิตประจำวันอย่างจริงจัง โดยเฉพาะการมียุทธศาสตร์และแผนแม่บทระดับชาติหน่วยงาน และงบประมาณ สำหรับการส่งเสริมการใช้จักรยานในชีวิตประจำวันเป็นการเฉพาะ เทียบเท่ากับยานพาหนะและระบบการคมนาคมขนส่งอื่นๆ ———————————————————————————————————————————————- กวิน ชุติมา …

Read More »