Print
Print901836_10151559206782700_1935206460_o_0Print

I Bike I walk The Series (4 เล่ม) เล่มละ 100 บาท

฿400.00

  •    แนะนำหนังสือ (เดิน-จักรยาน)

หนังสือเกี่ยวกับเรื่องเดินและจักรยาน ชุดนี้มี 4 เล่ม สองเล่มแรกเป็นเรื่องเกี่ยวกับวิธีคิดและหลักการในการชักชวนชุมชนไทยให้หันมาใช้การเดินกับจักรยานในวิถีชีวิตประจำวัน  ส่วนอีกสองเล่มหลังเน้นหนักไปในการใช้จักรยานอย่างจริงจังมากขึ้น  แต่ก็ไม่ถึงกับเป็นมือโปรหรือนักแข่งขันไปเสียทีเดียว คือ เหมาะสำหรับนักจักรยานสมัครเล่นที่จริงจัง และนักจักรยานจริงแบบสมัครเล่น

ทั้ง 4 เล่มนี้เขียนโดย ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ธงชัย  พรรณสวัสดิ์ ผู้ก่อตั้งชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 บทความส่วนใหญ่เป็นการเลือกและรวบรวมบทความเก่าที่ อ.ธงชัยได้เขียนไว้ตั้งแต่ 20 ปีที่แล้วมาถึงปัจจุบัน

อาจารย์ใช้คำว่า ‘นอกจากปรับแก้บทความเก่าบ้างเป็นบางส่วนเพื่อความเหมาะสมบางประการ ผมยังได้เขียนบทความใหม่เพิ่มขึ้นอีก เพื่อความเป็นปัจจุบันสมัยมากขึ้น’

เล่มแรก ใช้ชื่อว่า‘เดินไป ปั่นไป’เพื่อให้ตรงกับคำขวัญและแบรนด์ I BIKE I WALK  มีบทความเกี่ยวกับทางเดินที่เดินได้(มีการอธิบายว่าทางเท้าหลายแห่งในเมืองไทยใช้เดินไม่ได้ ด้วยอุปสรรคนานับประการ) คาร์ฟรีเดย์กับทางเท้า(พูดถึงทางเท้ามีส่วนเสริมการเป็นคาร์ฟรีเดย์หรือวันปลอดรถยนต์ได้อย่างไร) ซื้อจักรยานมาแล้วใช้ไม่ได้(เพราะซื้อมาแพงไป ไม่เหมาะกับวิถีชีวิตของคนเมือง) เมืองจักรยานคือเมืองคนไม่อ้วน(จากข้อมูลของเมืองทั่วโลก พบชัดเจนว่าเมืองใดมีการวางแผนและผังเมืองให้ใช้จักรยานได้ เมืองนั้นจะมีพลเมืองที่ไม่อ้วนอยู่เป็นสัดส่วนที่สูง ข้อมูลนี้อาจนำไปให้นักบริหารเมืองใช้ในการจัดการเมืองได้) บทเรียนรู้จากต่างประเทศ (นำเอาประสบการณ์ตรงจากการที่ได้ไปสัมผัสกับการจักรยานในต่างประเทศ มาเล่าสู่กันฟัง เช่น การประชุมนานาชาติว่าด้วยจักรยานโลก  การลบถนนออก  เอามาทำเป็นทางจักรยาน  การใช้ระบบแบ่งปัน (เช่า) จักรยานกันใช้ในเขตเมือง) ฯลฯ

เล่มที่ 2 ชื่อ‘ชุมชนไทย หัวใจจักรยาน’  มีการเอ่ยถึงเมืองโบโกต้า ประเทศโบลีเวีย (พูดถึงเรื่องนี้มาแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546) ใบขับขี่จักรยาน (พูดถึงสถิติคนมาทำใบขับขี่จักรยาน) จักรยานไม่ล็อก… แต่ไม่หาย (โดยเน้นการสร้างวินัยและจริยธรรมของคนไทย โดยดูตัวอย่างจากประเทศญี่ปุ่น) กฎหมายว่าด้วยจักรยาน (มีหลายเรื่องที่แม้แต่ตำรวจจราจรก็ไม่น่าจะรู้ เช่น รถจักรยานไฟฟ้านั้น ตามกฎหมายถือว่าเป็นแบบเดียวกับรถมอเตอร์ไซค์ จักรยานใช้บรรทุกของได้แต่ให้คนซ้อนไม่ได้  ไม่ว่าจะซ้อนหน้าหรือซ้อนหลัง) จุดยืนของ ECF ว่าด้วยหมวกกันน็อก(ECF มีจุดยืนว่าใช้จักรยานไม่ต้องสวมหมวกกันน็อก) ฯลฯ

เล่มที่ 3 เข้าสู่โหมดของ (นักจักรยานสมัครเล่นที่จริงจังและนักจักรยานจริงจังแบบสมัครเล่น)  โดยใช้ชื่อเล่มว่า ‘แต่งองค์ทรงเครื่อง’ พูดถึงการแต่งกายอย่างไรให้รัดกุมขณะออกทริป ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง  การสวมหมวกกันน็อกแบบไม่ได้ช่วยกันน็อกจริงนั้นเป็นอย่างไร การใช้เสื้อสะท้อนแสงดีหรือไม่ดีกว่าการสวมหมวกกันน็อก  การตากผ้ายืดไม่ให้ยืดทำได้อย่างไร ทำไมคนเติมลมรถต้องสวมหมวกกันน็อกตลอดเวลาที่เติมลม แถมด้วยเรื่องแปลกๆว่า ‘พระขี่จักรยานได้ไหม’ การซ่อมกระเป๋าจักรยาน  ขี่จักรยานกางร่มโดยไม่ต้องใช้มือถือมาหรือจับร่มนั้นทำได้อย่างไรฯลฯ

เล่มที่ 4 เนื้อหาสาระหนักขึ้นไปอีกนิด เป็นเรื่อง ‘ช. ช่าง ชวนรู้’พูดถึงเทคนิครถและเทคนิค  คนว่าจะใช้จักรยานอย่างไรจึงจะได้ประโยชน์  ใช้งานได้นานที่สุด เช่น ทำไมต้อง ‘เบรกซ้ายคือเบรกหน้า เบรกขวาคือเบรกหลัง’, และ ‘แซงซ้ายบอกซ้าย แซงขวาบอกขวา’, จอดจักรยานโดยไม่ลดเกียร์มีผลเสียต่อระบบเกียร์อย่างไร, วิธีจูง แบก ยก หงายรถจักรยาน  ทำอย่างไรจึงง่ายที่สุด เบาที่สุด, ถึงทางแยกแล้วเจอรถบรรทุกเลี้ยวซ้ายเบียดเรา จะต้องทำอย่างไร, ขี่จักรยานบนทางปูนริมคลองอย่างไรจึงไม่ตกน้ำ, การเอาจักรยานขึ้นบันไดเลื่อน ฯลฯ

ทั้ง 4 เล่มนี้เล่มละ 100 บาท ค่าส่งเล่มละ 20 บาท ซื้อ 2 เล่ม 200 บาท ค่าส่ง 30 บาท  หากซื้อทั้งชุดรวม 4 เล่ม ราคา 400 บาท ค่าส่ง 40 บาท (ซื้อเป็นชุดท่านจะได้รับเข็มกลัดและปากกา I Bike I Walk ทันที)

หนังสือชุดนี้ได้รับการสนับสนุนบางส่วนจากองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. และสสส. ชมรมฯขอแสดงความขอบคุณเป็นอย่างสูงไว้ ณ ที่นี้

 

สนใจสั่งซื้อได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 02 -618 4430 ค่ะ

(มิถุนายน 2556)