Home / Webmaster (page 4)

Webmaster

การประชุมนานาชาติว่าด้วยกิจกรรมทางกายและสุขภาพ ครั้งที่ 6 (The 6th International Congress on Physical Activity and Health 2016 : ISPAH 2016 Congress)

การประชุมนานาชาติว่าด้วยกิจกรรมทางกายและสุขภาพ ครั้งที่ 6 (The 6th International Congress on Physical Activity and Health 2016 : ISPAH 2016 Congress) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 16-19 พฤศจิกายน 2559 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพมหานคร จัดโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) และสมาพันธ์นานาชาติด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย โดยมีกระทรวงสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร เป็นเจ้าภาพร่วม และองค์การอนามัยโลก เป็นผู้สนับสนุนสำคัญ ซึ่งเป็นการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องกิจกรรมทางกายและสุขภาพ ทำให้เข้าร่วมการประชุมทราบถึงสถานการณ์ ปัญหาที่มีผลต่อสุขภาพของประชากรโลก โดยเฉพาะโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-communicable diseases: NCDs) กำลังเป็นภัยเงียบที่ขยายตัวรุนแรงมากขึ้น ซึ่งหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงหลัก คือ ภาวะเนือยนิ่งขาดกิจกรรมทางกาย ในงานประชุมครั้งนี้มีผู้แทนจาก       ชมรมฯ เข้าร่วมด้วย 2 คน คือนายกวิน ชุติมา ร่วมนำเสนอผลงานในส่วนของ Poster Presentation ในหัวข้อ Promoting Walking and Cycling in daily life as Physical Activity in all Policies และนางสาวสรัสวดี     โรจนกุศล ร่วมประชุมในฐานะ 1 ใน 15 นักวิจัยหน้าใหม่ของประเทศไทย (Early Career Network: ECN) เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานวิจัยด้านกิจกรรมทางกายและสุขภาพระหว่างนักวิจัยของไทยและนักวิจัยจากต่างประเทศ ทั้งนี้ภายในงานได้ประกาศปฏิญญากรุงเทพฯ แนวปฏิบัติส่งเสริมกิจกรรมทางกายฉบับแรกของโลก ย้ำ 6 ข้อเรียกร้อง เพื่อหนุนให้ทั่วโลกมีกิจกรรมทางกายมากขึ้น เน้นลงทุน-มีส่วนร่วม-พัฒนาคน-เทคโนโลยี-เฝ้าระวังและประเมินผล-งานวิจัย มุ่งสร้างความเข้มแข็งระดับประเทศและภูมิภาคบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในปี 2573 และประกาศประเทศเจ้าภาพจัดการประชุมครั้งต่อไปในอีก 2 ปี ข้างหน้าคือ ประเทศอังกฤษ

Read More »

CALL FOR PAPER AND ABSTRACT

Thailand Bike and Walk Forum is an annual symposium on walking and cycling in daily life.  Having been organized by TCC since 2013, it is aimed to stimulate creation of knowledge, and sharing of experiences, on walking and cycling in daily life, especially in the context of Thailand.  Body of knowledge generated from researches and studies related to this forum and TCC’s public policy advocacy work have led to a number of concrete results. Theme of the 5th forum in 2017 is ‘Walk and Bike Friendly Community’. To create a walk and bike friendly community or town in Thailand, it …

Read More »

สหประชาชาติเรียกร้องให้จัดงบประมาณคมนาคมขนส่งอย่างน้อยร้อยละ 20 ให้กับการเดินและการใช้จักรยาน

“ให้รัฐบาลจัดงบประมาณคมนาคมขนส่งอย่างน้อยร้อยละ 20 ให้กับการเดินและการใช้จักรยาน” ฝันไปหรือเปล่า?  ก็อาจจะเป็นความฝันที่ยังไม่ใช่ความจริงในขณะนี้สำหรับประเทศไทยครับ  แต่เป็นจริงได้ และควรจะต้องเป็นเช่นนั้นด้วย  ข้อเสนอนี้มาจากโครงการสิ่งแวดล้อมขององค์การสหประชาชาติ (UNEP) ในรายงานชื่อ Global Outlook on Walking and Cycling 2016 ที่เพิ่งออกมาเมื่อเดือนกันยายน 2559 นี่เอง รายงานนี้เป็นผลจากการสำรวจความก้าวหน้าที่เกิดขึ้นกับ “Active Travel” ในยี่สิบประเทศ  คำว่า Active Travel นี้ยังไม่มีคำศัพท์ไทยที่สั้นกระชับและให้ความหมายตรง แปลออกมาอาจจะได้ว่า “การเดินทางที่ผู้เดินทางได้ขยับเขยื้อนร่างกายอย่างแข็งขัน”  คำนี้ใช้กันมากในยุโรป ลาตินอเมริกา และประเทศในอาฟริกาตะวันตก ให้ความหมายตรงกับ “การเดินทางที่ไม่ใช้เครื่องยนต์” (Non-Motorised Transport – NMT) ซึ่ง UNEP ให้นิยามครอบคลุมไว้ตั้งแต่ การเดิน การขี่จักรยานสองล้อและสามล้อ การใช้รถเข็นชนิดต่างๆ การเดินทางด้วยยานพาหนะที่ใช้สัตว์ลากจูง การใช้สัตว์ในการขนส่ง และวิธีเดินทางและการใช้พาหนะอื่นๆที่ไม่ใช้เครื่องยนต์ รวมไปจนถึงการใช้สเกตบอร์ดด้วย  ยี่สิบประเทศที่เลือกมานี้เป็นประเทศที่มีรายได้ต่ำและรายได้ปานกลาง คือมีรายได้ประชาชาติสุทธิต่อหัวต่อปีไม่เกิน 1,025 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 35,000 บาท) และระหว่าง 1,025 ถึง 12,475 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 35,000 – 436,000 บาท) ตามลำดับ อยู่ในเอเชีย 6 ประเทศได้แก่ บังคลาเทศ อินเดีย เนปาล สิงคโปร์ จีน และเกาหลี ไม่มีไทยเราครับ ผลการสำรวจชี้ออกมาเลยครับว่า การไม่ได้ลงทุนทำโครงสร้างพื้นฐานที่ปลอดภัยสำหรับการเดินและการใช้จักรยานนำไปสู่การสูญเสียชีวิตของคนนับล้านๆ  มีการคำนวณว่าทั่วโลกมีคนตายบนถนนปีละราว 1.3 ล้านคน เกือบครึ่งหนึ่งเป็นผู้ใช้ถนนที่อยู่ในสภาพอ่อนเปราะที่จะได้รับอันตราย คือคนที่เดินทางโดยไม่ใช้เครื่องยนต์ดังกล่าว รวมถึงผู้ขับขี่จักรยานยนต์ด้วย แต่ถ้าเอาไปเปรียบเทียบกับประเทศที่มีรายได้สูงแล้วจะต่างกันมาก คนในประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลางเสียชีวิตบนถนนมากกว่าประเทศที่มีรายได้สูงถึงเกือบสองเท่า !!! เปรียบเทียบง่ายๆนะครับ ลองคิดดูว่าจะต้องเป็นเรื่องใหญ่แน่ หากประชาคมโลกปล่อยให้ประชาชนทั้งหมดของออสเตรเลีย กานา หรือเนปาล ตายหมดเกลี้ยงในเวลาเพียง 15 ปี  แต่กลับไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลย เมื่อเราปล่อยให้ประชากรโลกจำนวนมากกว่านั้นเสียอีกตายไปอย่างเงียบๆ จากอุบัติเหตุบนท้องถนน  เรายอมรับให้อุบัติเหตุเหล่านั้นเกิดขึ้นทั้งๆ …

Read More »

อัมสเตอร์ดัม – ใช้จักรยานมากๆ ก็มีปัญหา

อัมสเตอร์ดัมอาจเป็นเมือง(หลวง)ที่มีการใช้จักรยานมากที่สุดในโลก ประชากรที่นั่น 1.1 ล้านคนมีจักรยาน 1 ล้านคัน และร้อยละ 68 ของการเดินทางในย่านกลางเมืองทำด้วยจักรยาน จึงไม่แปลกที่อัมสเตอร์ดัมจะมีชื่อเสียงไปทั่วโลกในช่วงสี่สิบปีที่ผ่านมาเพราะจักรยาน มากกว่าภาพวาดของจิตรกรเอกอย่างแวนโฮห์และเรมบรานด์ และก็เป็นความจริงที่ชาวอัมสเตอร์ดัมหนึ่งรุ่นเต็มๆ เติบโตขึ้นมาคุ้นเคยกับการใช้จักรยานจนพวกเขามีทักษะที่จะขี่ยานพาหนะสองล้อนี้ไปไหนมาไหนได้อย่างคล่องแคล่ว ไหลลื่น ตื่นตัวอย่างยิ่งกับสิ่งที่อยู่รอบตัว แต่ก็ดูเป็นธรรมชาติเสียเหลือเกิน แม้จักรยานจะเป็นภาพลักษณ์ของอัมสเตอร์ดัม เมืองนี้ก็เป็นสวรรค์ของการใช้จักรยานน้อยกว่าเมืองอื่นในเนเธอร์แลนด์ที่มีขนาดเล็กกว่าอย่างอูเทรคท์และโกรนิงเก็น ในช่วงชั่วโมงเร่งด่วนเวลาเช้าเย็นและบริเวณที่เต็มไปด้วยนักท่องเที่ยวผู้ไม่คุ้นเคยกับกฎเกณฑ์การขี่จักรยานที่ไม่มีการเขียนเอาไว้เป็นลายลักษณ์อักษรของชาวอัมสเตอร์ดัม เราจะเจอกับสภาพ “จักรยานติด” (เหมือนรถติด) ที่ผู้ใช้จักรยานตามเส้นทางสายหลักต้องหยุดทุกจุดที่มีถนนตัดกัน ทำให้แม้แต่ชาวอัมสเตอร์ดัมเองก็เอือมระอา แน่นอนว่าส่วนหนึ่งมาจากการที่อัมสเตอร์ดัมไม่ใช่นครใหญ่มากมาย หากมีพื้นที่จำกัด ในขณะที่มีจักรยานมากเกินไป สกู๊ตเตอร์มากเกินไป รถยนต์มากเกินไป และแม้แต่คนเดินเท้าก็มากเกินไป  ยิ่งกว่านั้นแม้การเดินทางที่ใจกลางเมืองร้อยละ 68 จะทำด้วยจักรยาน แต่ก็มีโครงสร้างพื้นฐานรองรับเพียงร้อยละ 11 ในขณะที่รถยนต์ได้ไปถึงร้อยละ 44  ผิดสัดผิดส่วนเป็นอย่างยิ่ง  แล้วรถสกู๊ตเตอร์ ซึ่งใหญ่กว่า หนักกว่า และเร็วกว่า ยังเข้ามาใช้ทางที่จัดไว้ให้จักรยานอีกด้วย แม้ปัญหานี้กำลังจะได้รับการแก้ไข ข้อเสนอให้ห้ามสกู๊ตเตอร์ใช้ทางจักรยานทั่วประเทศกำลังอยู่ในการพิจารณาของรัฐสภา จักรยานไฟฟ้าซึ่งขณะนี้ขายดีกว่าจักรยานที่ใช้แรงคนธรรมดาๆ ก็อาจเป็นปัญหาใหม่ขึ้นมาเพราะมันสามารถทำความเร็วได้สูงสุดถึง 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แอนนา ลูเท็น .นายกเทศมนตรีจักรยานคนแรกของโลก (ภาพโดยนิค แมน มีด) จะแก้ปัญหากันอย่างไร กลุ่มผลักดันนโยบายจักรยานชื่อ CycleSpace เอาตัวอย่างความสำเร็จก่อนหน้านี้จากการแต่งตั้งมิริค มิลาน มาเป็น “นายกเทศมนตรีกลางคืน” ของอัมสเตอร์ดัมมาใช้ นายมิริคเป็นตัวกลางให้เกิดการพูดคุยสื่อสารกันระหว่างผู้มีส่วนได้เสียใน “กิจกรรมกลางคืน” ของเมืองที่กำลังขยายตัว ตั้งแต่ผู้ได้รับประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ และเจ้าหน้าที่รัฐบาลท้องถิ่นที่บางครั้งก็ไม่อยากยอมรับว่ามีกิจกรรมเช่นนี้ในพื้นที่รับผิดชอบของตน จนสามารถตกลงกันได้ จากประสบการณ์นี้ CycleSpace จึงเสนอให้มีการสร้างตำแหน่งขึ้นมาใหม่เรียกว่า “นายกเทศมนตรีการจักรยาน” (cycling mayor) โดยเปิดให้ส่งวิดีโอคลิปเข้ามาสมัคร เปิดให้สาธารณชนลงคะแนนเลือกให้เหลือจำนวนน้อยลง จากนั้นเจ้าหน้าที่เมืองและกลุ่มเคลื่อนไหวด้านจักรยานก็มาเลือกกันเป็นขั้นสุดท้ายได้แอนนา ลูเท็น (Anna Luten) มาเป็นนายกเทศมนตรีการจักรยานคนแรกของอัมสเตอร์ดัมและของโลก ความจริงตำแหน่งคล้ายๆกันนี้ก็ไม่ใช่ของใหม่ หลายเมืองมีตำแหน่งที่เรียกว่า ผู้ตรวจการจักรยาน(bicycle commissioner), หัวหน้าเจ้าหน้าที่จักรยาน(Chief Bicycle Officer – CBO) หรือซาร์จักรยาน(cycle tsar) แต่ตำแหน่งเหล่านี้เป็นตำแหน่งทางการ เป็นส่วนหนึ่งของระบบการปกครองท้องถิ่น หลายแห่งมาจากการเลือกตั้ง นายกเทศมนตรีการจักรยานของอัมสเตอร์ดัมแม้จะไม่ได้มาจากการเลือกตั้งก็เป็นอิสระ ไม่สังกัดหน่วยงานใดๆ และเป็นงานอาสาสมัคร …

Read More »

ข้อเท็จจริง – ยิ่งสร้างยิ่งขยายถนน รถยิ่งติด

  กรุงเทพมหานครกลายเป็นเมืองที่ “รถติด” มากที่สุดในโลก  ปัญหาการจราจรติดขัดกลายเป็นวาระของประเทศที่รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ต้องจัดประชุมหารือเป็นพิเศษเพื่อหาทางแก้ไข  ข่าวที่ออกมาเปิดเผยว่า การขาดวินัยในการขับรถถูกมองว่าเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งของปัญหานี้  และอีกสาเหตุหนึ่งคือการมีถนนไม่พอเพียงกับจำนวนรถที่เพิ่มขึ้นมากมายทุกวัน  คาดได้ว่า มาตรการแก้ปัญหาหนึ่งที่จะผุดขึ้นมาดังเช่นที่ผ่านมาเสมอ คือการขยายถนน-ขยายพื้นที่จราจร ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มช่องทางรถของถนนที่มีอยู่เดิม(ซึ่งอาจทำด้วยการลดขนาดทางเท้า เป็นต้น) หรือการสร้างถนนขึ้นมาใหม่อีก แต่ไม่มีการวิเคราะห์ใดเลยที่บ่งชี้ว่า  การสร้างถนนใหม่และการขยายถนนที่มีอยู่เดิม ด้วยความคิดความเชื่อของคนทั่วไปที่ว่า รถติดส่วนหนึ่งเกิดจากมีพื้นที่ถนนไม่เพียงพอให้รถใช้  ดังนั้นเมื่อเพิ่มพื้นที่ถนนเข้าไป  ไม่ว่าจะเป็นการขยายความกว้างของถนน หรือการสร้างถนนใหม่ รถก็จะมีพื้นที่ให้เคลื่อนไปไหลลื่นมากขึ้น และติดน้อยลงหรือไม่ติดเลย นั้นในที่สุดโดยรวมแล้ว ทำให้เกิดผลในทางตรงข้าม คือรถยังติดเหมือนเดิม และบางกรณีก็ติดมากขึ้นด้วยซ้ำไป ! แม้จะยังไม่มีการศึกษาเรื่องนี้ชัดเจนในไทย  แต่ก็มีการศึกษาในที่ต่างๆ ทั่วโลกมาแล้วไม่ต่ำกว่าห้าสิบปี (รวมทั้งในสหรัฐอเมริกาที่วัฒนธรรมการใช้รถยนต์ครอบงำนโยบายการเดินทางขนส่งของประเทศมาโดยตลอด)  ที่พบในทางตรงข้าม  วิศวกรจราจร(traffic engineer) พบว่า เราไม่สามารถแก้ปัญหาการจราจรติดขัดได้ด้วยการขยายหรือสร้างถนนเพิ่ม เพราะถนนนั่นแหละเป็นสาเหตุที่ทำให้มีการจราจรมากขึ้น ทำให้รถติด สภาพเช่นนี้มีศัพท์ของนักเศรษฐศาสตร์เรียกว่า “อุปสงค์(ความต้องการ)ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดขึ้น” (induced demand) นั่นคือ เมื่อใดที่มีการเพิ่มอุปทาน(supply) หรือการสนองให้มีสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (เช่น ถนน) คนก็จะยิ่งต้องการสิ่งนั้นมากขึ้น  วิศวกรจราจรได้สังเกตเห็นปรากฏการณ์นี้มานานแล้วอย่างน้อยก็ตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษ 1960 แต่นักสังคมศาสตร์เพิ่งมาเก็บรวบรวมข้อมูลได้เพียงพอเมื่อไม่นานมานี้เองที่แสดงให้เห็นว่า สภาพเช่นนี้เกิดขึ้นทุกครั้งที่มีการสร้างถนนใหม่  พวกเขาพบว่า วิธีที่เรามักทำกันมาจนแทบจะเป็นประเพณีแบบไม่ต้องคิดในการขจัดหรือลดปัญหารถติดด้วยการสร้าง-ขยายถนนนั้นไร้ผล และหากเราใช้เหตุใช้ผลตามที่เป็นจริงกันมากขึ้นแม้เพียงสักนิด รถก็จะติดน้อยลง ในปี 2009 (พ.ศ.2552) นักเศรษฐศาสตร์สองคนคือ แมทธิว เทอร์เนอร์ แห่งมหาวิทยาลัยโทรอนโท ในคานาดา กับกิลส์ ดูรานทัน แห่งมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ในสหรัฐฯ ตัดสินใจเปรียบเทียบจำนวนถนนใหม่ที่สร้างขึ้นในเมืองต่างๆ ของสหรัฐฯ ในช่วงยี่สิบปีระหว่างปี 1980 ถึง 2000 กับจำนวนระยะทางทั้งหมดที่มีการขับรถในเมืองเหล่านั้นในช่วงระยะเวลาเดียวกัน และพบว่า ค่าทั้งสองนี้มีความสัมพันธ์กันในสัดส่วน 1:1 อย่างสมบูรณ์ทีเดียว เช่นว่าเมืองหนึ่งมีพื้นที่ถนนเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ในช่วงปี 1980-1990 จำนวนการขับรถในเมืองนั้นได้เพิ่มขึ้นไปร้อยละ 10 เช่นกัน  และถ้าพื้นที่ถนนในเมืองเดียวกันเพิ่มขึ้นร้อยละ 11 ในช่วงปี 1990-2000 จำนวนระยะทางทั้งหมดที่มีการใช้รถในเมืองนี้ก็จะเพิ่มขึ้นไปร้อยละ  11 เหมือนกับว่าตัวเลขทั้งสองนี้ถูกล็อกเอาไว้ด้วยกัน เมื่อตัวเลขหนึ่งใดเปลี่ยนไป อีกตัวก็จะเปลี่ยนไปด้วยอัตราเดียวกัน อย่างไรก็ตาม การมีความสัมพันธ์กันเช่นนี้ไม่ได้หมายความว่าการเปลี่ยนแปลงของค่าหนึ่งจะเป็นสาเหตุการเปลี่ยนแปลงของอีกค่าหนึ่งเสมอไป  …

Read More »

ขอขอบคุณผู้ใหญ่ใจดี

ทางชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทยต้องขอขอบพระคุณ คุณจิรเมษฐ จิระเสวีจินดา ผู้ใหญ่ใจดีที่ได้ให้ความอนุเคราะห์บริจาคจักรยานจำนวน 1 คัน ให้กับชมรมฯ และชมรมฯ ได้ส่งต่อให้กับโรงเรียนบ้านไร่ร่วมวิทยาคาร ตำบลพระแท่น อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี โดยมีนายสมศักดิ์ ฉันทปราโมทย์ ผู้อำนวยการโรงเรียนเป็นผู้รับมอบ เพื่อใช้เป็นจักรยานยืมปั่นในโรงเรียนสำหรับบุคลากรและนักเรียนต่อไป    

Read More »

ชมรมฯ ร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือสร้างเมืองที่เป็นมิตรต่อคนเดินและใช้จักรยานในภาคใต้

ชมรมฯ ร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือสร้างเมืองที่เป็นมิตรต่อคนเดินและใช้จักรยานในภาคใต้           จากการที่ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทยได้สนับสนุนให้กลุ่มผู้ใช้และชมรมจักรยานในจังหวัดของภาคใต้ตอนบนทำงานร่วมกัน จนเกิดเป็น “สมาพันธ์ผู้ใช้จักรยานและการเดินภาคใต้ตอนบน” ขึ้นในปี ๒๕๕๘ ที่ผ่านมา ทางสมาพันธ์ฯ ได้หารือกับผู้บริหารจังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่เกิดความเห็นชอบที่จะมาทำงานร่วมกันใน “โครงการเมืองที่เป็นมิตรต่อการเดินและการปั่นจักรยาน” ขึ้น โดยเริ่มที่การเดิน และเห็นว่า ในขั้นแรก เด็กนักเรียนน่าจะเป็นกลุ่มเป้าหมายที่เหมาะสม โดยกิจกรรมของโครงการจะเป็นการปรับปรุงพื้นที่รอบโรงเรียนให้เป็นพื้นที่ปลอดภัย เป็นมิตรต่อการเดินและการใช้จักรยาน  จึงได้ไปหารือสอบถามความสนใจที่จะเข้าร่วมโครงการกับผู้บริหารโรงเรียนในจังหวัดเป้าหมาย จนในที่สุดได้โรงเรียนที่เข้าร่วมเป็นโรงเรียนนำร่อง ๖ โรงเรียนใน ๔ จังหวัดคือ โรงเรียนชุมชนมาบอำมฤต (จ.ชุมพร), โรงเรียนเทศบาล ๑ ชุมพร (จ.ชุมพร), โรงเรียนอนุบาลระนอง (จ.ระนอง), โรงเรียนเทศบาลบ้านเสนารังสรรค์ (จ.พังงา), โรงเรียนอนุบาลพังงา (จ.พังงา) และโรงเรียนอิศรานุสรณ์ (จ.กระบี่) จากนั้นก็ได้เชิญชวนสถาบันการศึกษาคือ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง และมหาวิทยาลัยศิลปากร มาให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ และภาคเอกชนคือ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) มาสนับสนุน ภาพและข้อความ Walk and Bike Friendly City บนถนนระหว่างพระราชวังรัตนรังสรรค์ ภาพและข้อความ Walk and Bike Friendly City บนถนนระหว่างพระราชวังรัตนรังสรรค์  กับโรงเรียนอนุบาลระนอง ( ถ่ายจากโดรน)           เมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๙ ฝ่ายต่างๆที่เข้าร่วมในโครงการได้มาพบกันพร้อมหน้าพร้อมตาเป็นครั้งแรกที่เมืองระนอง เพราะเด็กๆ ที่โรงเรียนอนุบาลระนองได้รวมตัวกันขึ้นมาก่อนโรงเรียนอื่นตั้งเป็น “หน่วยกล้าเดิน” และเสนอโครงการ-กิจกรรมขึ้นมาเอง  สำหรับกิจกรรมในวันนั้นเริ่มต้นด้วยการที่เด็กนักเรียนและตัวแทนขององค์กรที่มาร่วมมือกันเดินตามถนนวนไปรอบโรงเรียนอนุบาลระนอง ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางเมือง ส่วนหนึ่งเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์และประกาศเริ่มโครงการสร้างเมืองที่เป็นมิตรต่อคนเดินและใช้จักรยานอย่างเป็นทางการ แม้ว่าเส้นทางและระยะเวลาเดินจะถูกตัดให้สั้นลงเนื่องจากดินฟ้าอากาศไม่อำนวย มีฝนตกมาตั้งแต่เช้า ซึ่งเป็นสภาพธรรมดาในฤดูฝนของ “เมืองฝนแปดแดดสี่” แห่งนี้ เมื่อเดินมาครบรอบ แขกผู้มีเกียรติก็ได้ช่วยกันลงสีเติมเต็มตัวอักษร “Walk and Bike Friendly City” …

Read More »

Walking and cycling are integrated into town planning of Bangkok

Walking and cycling are integrated into town planning of Bangkok               On Thursday 25th August 2016, Thailand Cycling Club (TCC) was invited by Town Planning Office of the Bangkok Metropolitan Administration (BMA) to attend a public hearing on suitability of using town planning for development of the inner zone and middle zone of Bangkok.  The meeting reached a number of conclusions in favour of walking and cycling promotion in Thailand’s capital city.           Firstly, it was agreed that transport around electric train stations, especially by walking and cycling, would be …

Read More »

ชมรมฯ ร่วมแสดงความเห็นการกำหนดเขตพัฒนาการท่องเที่ยวพื้นที่กรุงเทพมหานคร

ชมรมฯ ร่วมแสดงความเห็นการกำหนดเขตพัฒนาการท่องเที่ยวพื้นที่กรุงเทพมหานคร               สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ร่วมกับสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดทำโครงการศึกษาความเหมาะสมในการประกาศเขตพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อศึกษาประเมินความเหมาะสมในการประกาศเขตพัฒนาการท่องเที่ยวกรุงเทพมหานครและหมู่เกาะทะเลใต้ ทางสถาบันบัณฑิตฯ ศศินทร์ จึงได้จัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียจากภาคส่วนต่างๆ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ขึ้นในวันที่ ๑๒, ๑๓ และ ๑๙ กันยายน ๒๕๕๙ ที่โรงแรมเอเชีย กรุงเทพฯ และได้เชิญชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทยเข้าร่วมประชุมด้วยในฐานะที่เป็นหน่วยงานที่มีความเกี่ยวข้องที่สำคัญอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนให้โครงการบรรลุวัตถุประสงค์           ชมรมฯ ได้ส่งนายกวิน ชุติมา กรรมการ เป็นผู้แทนไปร่วมประชุมในวันที่ ๑๓ กันยายน  ในที่ประชุม วิทยากรได้ทบทวนความเป็นมา ข้อดีและข้อเสียของการประกาศเขตพัฒนาการท่องเที่ยว จากนั้นได้เปิดให้ผู้เข้าร่วม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นตัวแทนมาจากเขตต่างๆ ของกรุงเทพมหานคร ได้แสดงความคิดเห็น ความกังวลใจ และข้อเสนอแนะ  ผู้แทนชมรมฯ ได้เล่าอย่างย่อๆ ถึงการทำงานของชมรมฯ ในการส่งเสริมการใช้จักรยาน โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานคร ซึ่งชมรมฯ ได้ทำงานกับชุมชน กลุ่มผู้ใช้จักรยาน และสำนักการท่องเที่ยวและกีฬาของ กทม.ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยจักรยานด้วย และกล่าวว่า การใช้จักรยานในด้านต่างๆ รวมทั้งเพื่อการท่องเที่ยวกำลังเป็นกระแสไปทั่วโลก หลายประเทศลงทุนและดำเนินการต่างๆ เพื่อส่งเสริมการใช้จักรยานเพื่อการท่องเที่ยวอย่างจริงจัง มีการศึกษาในยุโรปพบว่าการลงทุนด้านนี้ให้ผลตอบแทนสูงถึง ๖ เท่า และผลที่ได้กระจายอย่างกว้างขวางไปถึงคนหลายส่วนในท้องถิ่นมากกว่าการท่องเที่ยวด้วยยานพาหนะอื่น ประเทศไทย รวมทั้งกรุงเทพฯ มีศักยภาพ-มีจุดขายในการส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยจักรยานสูง มีบริษัทจัดท่องเที่ยวด้วยจักรยานมากว่ายี่สิบปีแล้ว  การแบ่งพื้นที่(เขต)ในกรุงเทพฯ เป็นกลุ่มเครือข่ายการท่องเที่ยว ๕ เครือข่าย ๕ ด้าน (เชิงนิเวศ ทางศิลปะวิทยาการ ทางวัฒนธรรมทางประวัติศาสตร์ และเพื่อนันทนาการ) ตามที่โครงการเสนอ น่าจะไม่สอดคล้องกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยจักรยาน เนื่องจากในความจริง แต่ละเขตมีจุดเด่นของการท่องเที่ยวนักท่องเที่ยวมากกว่าหนึ่งด้าน และนักท่องเที่ยวด้วยจักรยานอาจสนใจได้ไปดูไปเรียนรู้จุดเด่นมากกว่าหนึ่งด้านในการเดินทางครั้งเดียว การส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยจักรยานต้องมีการพัฒนาปัจจัยหลายด้านไปพร้อมกัน ไม่เพียงแค่ประกาศว่ามีจุดเด่นการท่องเที่ยวที่นั่นที่นี่ ต้องมีการให้ข้อมูล-ประชาสัมพันธ์ให้ผู้สนใจเข้าถึงได้หลายทางที่สะดวก มีระบบและโครงสร้างพื้นฐานรองรับ เช่น การแนะนำเส้นทาง ป้าย-เครื่องหมาย จักรยานให้เช่าใช้ได้ดี ที่จอดจักรยานได้ปลอดภัย ร้านอาหารเครื่องดื่มและที่พัก ฯลฯ และที่สำคัญต้องให้ชุมชน-ผู้มีส่วนได้เสียในท้องถิ่นมีส่วนร่วมและได้ประโยชน์ …

Read More »

สปท. ชงแผนจราจร ‘ เป็นวาระแห่งชาติ’

สังคม-ชุมชน-สิ่งแวดล้อม กรุงเทพธุรกิจ 1 กันยายน  2559  หน้า 15 “สปท.” ชงแผนปฏิรูปแก้วิกฤติจราจรกทม.-เมืองใหญ่ จี้รัฐยกเป็นวาระแห่งชาติ ตั้งศูนย์เฉพาะแก้ปัญหา เผยถนนกทม.ไม่พอรอรับรถ 9 ล้านคัน ผลาญน้ำมันวันละ 97 ล้านบาท นายเสรี สุวรรณภานนท์ ประธานอนุกรรมาธิการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจราจรในเมืองใหญ่ ในคณะกรรมาธิการวิสามัญขับเคลื่อนการปฏิรูประบบความปลอดภัยทางถนน สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) เปิดเผยว่าอนุกรรมาธิการได้ศึกษาการแก้ไขปัญหาจราจรในเมืองใหญ่ โดยเน้นการจราจรในกรุงเทพฯเป็นหลัก โดยเสนอแผนปฏิรูประยะสั้นหรือเร่งด่วน โดยรัฐจะต้องกำหนดให้ปัญหาการจราจรและความปลอดภัยเป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งรัฐจะต้องให้การสนับสนุนทั้งด้านองค์กรและงบประมาณ มีการจัดตั้งกองทุนจราจร การจัดให้มีคณะกรรมการผู้ปฏิบัติงานการแก้ปัญหาจราจร โดยอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของคณะกรรมการจัดระบบจราจรทางบก (คจร.) มีนายกฯ หรือรองนายกฯที่ได้รับมอบหมายเป็นประธาน ทั้งนี้ให้มีศูนย์ประสานงานกลางเพื่อแก้ปัญหาจราจรโดยมีผู้รับผิดชอบปฏิบัติงานในแต่ละพื้นที่ตลอด 24 ชั่วโมง ขณะเดียวกันต้องทบทวนบทบาทท้องถิ่นและกรุงเทพฯ ให้มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาจราจร การแก้ปัญหาจราจรที่เป็นรูปธรรมของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ  ปัญหาการจราจรที่เกิดจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐตลอดจนการเตรียมความพร้อมรับการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติและเหตุสุดวิสัยและอุบัติเหตุ ที่สำคัญในทุกๆ 6 เดือนให้ประเมินความพึงพอใจของประชาชน นายเสรี กล่าวว่า รายงานดังกล่าวจะเสนอเข้าสู่ที่ประชุมวิปสปท. ในสัปดาห์หน้าเพื่อบรรจุเข้าสู่วาระการประชุมสปท. ให้ความเห็นชอบก่อนที่เสนอไปยังคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป อย่างไรก็ตามระหว่างนี้อนุกรรมาธิการฯ ร่วมกับกรมทางหลวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะลงพื้นที่เพื่อดูปัญหาการจราจรที่เกิดขึ้นจริง ทั้งนี้ปัญหาจราจรของเมืองใหญ่ถือเป็นวิกฤติที่จะต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพราะนอกจากจะทำให้การจราจรติดขัดยังส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต ปัญหาสิ่งแวดล้อม และเกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ จากการสำรวจพบว่ามีการเผาผลาญน้ำมันเชื้อเพลิง 97 ล้านบาทต่อวัน หรือตกปีละ 3.5 หมื่นล้านบาท ขณะที่จำนวนถนนไม่รองรับปริมาณรถที่มีอยู่ โดยในปี 2558 มีรถยนต์จดทะเบียนในกรุงเทพฯและปริมณฑลประมาณ 9 ล้านคัน แต่ถนนรองรับได้เพียง 1.5 ล้านคัน ซึ่งเราต้องควบคุมปัญหาปริมาณรถ โดยใช้หลักคิด ใครทำรถติดต้องรับผิดชอบ ส่วนข้อเสนอที่ให้ทะเบียนรถเลขคู่หรือเลขคี่วิ่งสลับวันกันนั้นเป็นไปไม่ได้ แต่อาจจะกำหนดโซนเพื่อเก็บค่าธรรมเนียมที่เข้าไปใช้ในชั่วโมงเร่งด่วน เช่นที่ต่างประเทศดำเนินการ

Read More »