Home / ข่าวและกิจกรรม / ข่าวสาร / ชมรมฯ จัดระดมความเห็นต่อการปรับปรุงมาตรฐานอุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการ

ชมรมฯ จัดระดมความเห็นต่อการปรับปรุงมาตรฐานอุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการ

เพื่อขับเคลื่อนให้มีการปฏิบัติตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๕ (พ.ศ. ๒๕๕๕) เรื่อง “การจัดระบบและโครงสร้างเพื่อสนับสนุนการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน” ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบและมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติแล้วนั้น  ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย โดยโครงการผลักดันการเดินและการใช้จักรยานไปสู่นโยบายสาธารณะของประเทศไทย ก็ได้เริ่มประสานงานกับหน่วยงานราชการต่างๆ อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๖ ตามที่ได้รายงานข่าวไปแล้ว

ในส่วนของกระทรวงอุตสาหกรรมที่ได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจกับชมรมฯ ไปเมื่อวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๕๗ นั้นมีส่วนหนึ่งที่เกี่ยวกับการปรับปรุงมาตรฐานและส่งเสริมการผลิตอุปกรณ์เครื่องช่วยของคนพิการ ชมรมฯจึงได้จัด “การระดมความคิดเห็นของกลุ่มคนพิการต่อประเภทอุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการและการปรับปรุงมาตรฐานอุปกรณ์” มีผู้เข้าร่วมเป็นตัวแทนจากศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพการแพทย์แห่งชาติ, สถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ กระทรวงสาธารณสุข, สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม, และมูลนิธิ-สมาคม-สภาต่างๆ ของคนพิการตั้งแต่ระดับท้องถิ่นไปจนถึงระดับประเทศและภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ครอบคลุมผู้พิการทุกประเภท โดยเฉพาะทางกาย การมองเห็น และการได้ยิน ขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๗ ที่ห้องประชุม ชั้น ๓ อาคารศูนย์พัฒนาและฝึกอบรมคนพิการแห่งเอเชียและแปซิฟิก (APCD) ถนนราชวิถี กรุงเทพมหานคร

การสะท้อนความคิดเห็นจากกลุ่มคนพิการและหน่วยงานที่เข้าร่วมประชุม สรุปประเด็นต่างๆ ดังนี้

  • วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ ไม่แข็งแรง อายุการใช้งานน้อย การออกแบบ Design ไม่พอดีกับคนใช้ ไม่มีขนาด (size S M L XL) ให้เลือก เช่น Wheelchair ขาเทียม เป็นต้น
  • อุปกรณ์เครื่องช่วยฟังสำหรับคนพิการทางการได้ยิน ควรจะมีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา 
  • ศูนย์ซ่อม/บำรุงอุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการ ไม่เพียงพอ 
  • การพัฒนาเทคโนโลยีหรืออุปกรณ์ที่เหมาะสมเพื่อสนับสนุนการพัฒนาทักษะผู้ป่วยออทิสติก 
  • การสร้างความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการเพื่อและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งผู้ใช้ (คนพิการ) พัฒนาปรับปรุงวัสดุอุปกรณ์ 
  • นอกจากนี้ คนพิการยังสะท้อนเรื่องราคาและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ต้องเหมาะสมกันด้วย
  • หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเข้าร่วมประชุมแสดงความคิดเห็น ได้แก่ สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ ซึ่งเป็นศูนย์ฯที่จัดซื้ออุปกรณ์ฯ ตามระเบียบของกระทรวงสาธารณสุข
  • ปัจจุบันมีข้อกำหนดมาตรฐานอุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการ (รวมทั้งของชิ้นส่วนจักรยานด้วย) โดยสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม แต่ผู้นำเข้า หรือผู้ประกอบการ หรอือผู้จำหน่ายไม่ได้ขอรับรองมาตรฐาน
  • อุปกรณ์ที่วางจำหน่ายจึงไม่ได้มีการรับรองมาตรฐาน ทำให้ผู้บริโภค (คนพิการ) ซื้ออุปกรณ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน
  • แนวทางเพื่อปรับปรุงมาตรฐานอุปกรณ์ฯ เสนอให้มีการหารือร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และกระทรวงพาณิชย์ ร่วมด้วย เพราะเป็นหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับประเด็นดังกล่าวนี้

ความคิดเห็นข้างต้น สอดคล้องกับผลสำรวจความต้องการต่อการปรับปรุงอุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการจากกลุ่มคนพิการที่ชมรมฯ ได้สำรวจความคิดเห็นทางโทรศัพท์  พบว่านอกจากเรื่องคุณภาพและราคาของอุปกรณ์แล้ว คนพิการยังอยากให้ปรับปรุงการอำนวยความสะดวกเพื่อการสัญจรด้วย เช่น การจัดระเบียบทางเท้า ระบบเสียงบอกจุดที่จะถึงบนรถประจำทางแบบรถไฟฟ้าบีทีเอส และการจัดห้องน้ำให้เพียงพอ เป็นต้น

การหารือทำให้ข้อสรุปหนทางแก้ไขว่าจะต้องพิจารณาปรับราคากลางที่กำหนดไว้นานแล้วใหม่ให้สูงพอที่จะซื้ออุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน,  แก้ไขระบบการจัดซื้อที่กระจายออกไป ซึ่งทำให้อุปกรณ์มีราคาสูงและมีคุณภาพต่ำกว่าที่ควร มารวมศูนย์ซื้อในปริมาณมาก ทำให้ซื้อได้ในราคาถูกลงและควบคุมมาตรฐานได้สำหรับอุปกรณ์ทางการแพทย์ซึ่งรวมอุปกรณ์ช่วยเหลือคนพิการ และควบคุมให้นำเข้าได้แต่วัตถุดิบในการผลิตและอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน   

ภาพบรรยากาศการประชุมระดมความคิดเห็นของกลุ่มคนพิการต่อประเภทเครื่องช่วยคนพิการและการปรับปรุงมาตรฐานอุปกรณ์

ณ Conference room ชั้น 3 ตึก APCD เมื่อวันที่ 24 เมษา 57

รายงานโดย  กวิน ชุติมา

กรรมการ ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย (TCC)

TCC เป็นสมาชิกองค์กรแรกและประเทศแรกในเอเชียของสหพันธ์ผู้ใช้จักรยานยุโรป (ECF)

Comments

comments

Check Also

ชมรมฯ ร่วมงาน a day BIKE FEST 2016

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น