Home / ข้อมูลความรู้ / รายการงานการสํารวจความพึงพอใจของผู้ใช้ทางเท้าในเขตชานเมือง พื้นที่ตัวอย่างเขตลาดกระบัง

รายการงานการสํารวจความพึงพอใจของผู้ใช้ทางเท้าในเขตชานเมือง พื้นที่ตัวอย่างเขตลาดกระบัง

ผ.ศ.กรินทร์ กลิ่นขจร, ผ.ศ.ธิติพันธุ์ ตริตระการ, ธีร์ อังคะสุวพลา สาขาวิชาสถาปัตยกรรมและการวางแผน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง

บทคัดย่อ

งานการศึกษานี้มีจุดประสงค์ในการสํารวจความพึงพอใจของผู้ใช้ทางเท้า โดยใช้แนวทางของดัชนีชี้วัดความน่าเดิน (Global Walkability Index: GWI)เป็นกรอบของการสํารวจ เพื่อให้ได้ใจความสําคัญที่เป็นมาตราฐานสากล ซึ่งผลที่ได้จากการ ใช้แบบสอบถามสํารวจความพึงพอใจและความต้องการของคนในพื้นที่ จะสามารถเทียบเคียงความพึงพอใจที่สํารวจได้ เชื่อมโยงกับมาตรฐานทางกายภาพของทางเท้า ซึ่งน่าจะให้คําตอบที่น่าสนใจและสะท้อนภาพความเป็นจริงบนทางเท้าได้ ชัดเจน โดยเลือกสํารวจความพึงพอใจบนแนวทางเท้าตัวอย่าง 3 เส้นที่มีลักษณะกิจกรรมที่แตกต่างกัน ในพื้นที่เขตลาดกระบัง (เส้นถนนฉลองกรุงด้านหน้าการนิคมอุตสาหกรรม เส้นถนน local road ด้านข้างสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ ลาดกระบัง และ เส้นถนนอ่อนนุช ช่วงบริเวณตลาดหัวตะเข้)

สิ่งที่เห็นสอดคล้องกันของทางเท้าทั้ง3เส้นที่ได้รับการประเมิน คือ ส่วนใหญ่ใช้ทางเท้าเพื่อเดินทางไปทํางานหรือไป เรียน รู้สึกพอรับได้กับการใช้จักรยานบนทางเท้ามากกว่ารถจักรยานยนต์ และรู้สึกเฉย(ไม่รู้สึกแตกต่าง) จากอาชญากรรมใน เวลากลางวัน

ส่วนที่มีความแตกต่างคือ ในพื้นที่นิคมอุตสหกรรม ค่อนข้างเฉยๆ(ไม่รู้สึกแตกต่าง)จากอาชญากรรมกลางคืน ในขณะ ที่กลุ่มตัวอย่างในพื้นที่สถาบันฯและตลาดหัวตะเข้รู้สึกมีความเสี่ยงต่ออาชญากรรม เช่นเดียวกันกับความกว้างของทางเท้าที่ในพื้นที่นิคมอุตสหกรรมรู้สึกรับได้กับความกว้างในปัจจุบัน ในขณะที่พื้นที่สถาบันฯและตลาดหัวตะเข้รู้สึกว่าค่อนข้างไม่เพียงพอ

จากทางเท้าทั้ง 3 เส้นรู้สึกว่าแผงลอยเป็นสิ่งกีดขวางหลัก ส่วนความต้องการในอนาคตของทางเท้าทั้ง 3 เส้นมีความ แตกต่างกัน (นิคมอุตสหกรรม ต้องการทางม้าลาย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารฯ ต้องการ ไฟฟ้าแสงสว่าง ส่วนในพื้นที่ตลาดหัวตะเข้ต้องการสะพานลอย)

และหลังจากที่ได้สํารวจความพึงพอใจแล้ว ได้เลือกทางเท้าตัวอย่างบริเวณถนนอ่อนนุชหน้าตลาดหัวตะเข้ขึ้นมาเป็น ตัวอย่างเพื่อทําการประเมินพื้นที่ด้วยวิธีการ GWI ควบคู่กับการทําแบบสอบถาม และเมื่อประเมินเส้นทางด้วยวิธีการ GWI แล้ว ทําให้พบทั้งสิ่งที่ขัดแย้งกัน ในหลายๆด้าน เช่น พบว่าหาบเร่แผงลอยไม่ได้กีดขวางพื้นที่ทางเท้าจนเป็นปัญหามากอย่างที่ ปรากฏในการสํารวจความพึงพอใจ สิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการเดินบนทางเท้ากลับเป็นอุปกรณ์ระบบสาธารณูปโภคต่างๆ เช่น เสาไฟฟ้า ตู้โทรศัพท์ ป้อมตํารวจ หรือแม้แต่ถนน และ สะพานลอยคนข้าม ทําให้การศึกษาสามารถสรุปข้อแนะนําหลักได้ว่า การใช้การประเมินความพึงพอใจและสํารวจความต้องการของผู้ใช้เป็นเครื่องมือเพียงอย่างเดียวในการกําหนดทิศทางการ พัฒนาทางเท่านั้นไม่น่าจะเพียงพอ ควรมีการใช้หลักการสํารวจความต้องการจริงบนทางเท้า ควบคู่กับการใช้ความรู้ และ หลักการอันเป็นมาตราฐานสากลเป็นเครื่องมือประกอบด้วย เพื่อช่วยให้การพัฒนานั้น นําไปสู่ความเป็นทางเท้าที่น่าเดิน และ ตอบสนองกับความต้องการจริงในพื้นที่นั้นนั้น

Comments

comments

Check Also

Mn/DOT Bikeway Facility Design Manual

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น