Home / ข่าวและกิจกรรม / ข่าวสาร / ระบบสนับสนุนการใช้จักรยานในเมืองของไทย

ระบบสนับสนุนการใช้จักรยานในเมืองของไทย

      ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย (TCC) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (KMUTT) โดยการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ร่วมกันจัดโครงการการประกวด “ระบบสนับสนุนการใช้จักรยานในเมืองของไทย” ขึ้นในช่วงปลายปี 2554 ถึงต้นปี 2555 ซึ่งได้มีนักศึกษาและประชาชนทั่วไปผู้สนใจในโครงการฯ ได้ส่งผลงานเข้าประกวดรวมประมาณ 50 ผลงาน
คณะกรรมการตัดสิน อันประกอบด้วย ผู้แทนจาก สสส. สภาคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย สมาคมสถาปนิกสยาม  สมาคมนักออกแบบผลิตภัณฑ์  มูลนิธิโลกสีเขียว และผู้บริหารเมืองกทม. และพัทยา รวมทั้งผู้แทนสื่อด้านการออกแบบ รวม 8 ท่าน ได้คัดเลือกในขั้นต้นจนเหลือ 10 ผลงาน  ซึ่งเจ้าของผลงานทั้งสิบผลงานดังกล่าวได้ไปนำเสนอแนวคิดของตนแบบปากเปล่าแก่ คณะกรรมการตัดสิน รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันและกัน ณ ลานกิจกรรมในงานสถาปนิก’ 55 ที่อิมแพค เมืองทองธานี ในวันเสาร์ที่ 28 เมษายน 2555
หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกและตัดสิน คือ 1) การนำไปปฏิบัติได้จริง (50%) 2) การมีความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม (25%) และ 3) การทำให้เมืองสวยงามขึ้น (25%) ชิงเงินรางวัลรวมร่วมหนึ่งแสนบาท

    ผลการตัดสินในครั้งนี้ ผู้ที่ชนะการประกวด

  •     รางวัลที่ 1 ได้แก่ Cycling Transit Center
  •     อันดับที่ 2 ได้แก่ Fin Bike
  •     อันดับที่ 3 ได้แก่ ParaCycler Route และ
  •     รางวัลชมเชย 2 รางวัล ได้แก่ Bike Lounge และ Feel Full

       ชมรมฯจึงขอเก็บรวบรวมแนวคิดดีๆ มาฝากผู้ที่รักการเดินและใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน ทั้ง 10 แนวคิดที่เข้ารอบ ดังนี้

แนวคิดที่ 1 : Cycling Transit Center
แนว คิดนี้ มองเรื่องการเชื่อมต่อทางเดินกับทางจักรยาน โดยเป็นการประชาสัมพันธ์ให้คนเมืองใช้จักรยานไปทำงาน เป็นตัวเคลื่อนขยายกลุ่มคนให้ใช้จักรยานเพิ่มมากขึ้น โดยคนปั่นจักรยานอยู่ด้านบนทางเดิน มีห้องจัดโชว์จักรยาน และวัสดุที่ใช้ทำทางจักรยานทำจากไม้เนื่องจากไม้มีคุณสมบัติในการดูดซับความ ร้อนได้น้อย และทำให้ยางจักรยานได้รับความกระทบกระเทือนน้อยด้วย ซึ่งออกแบบทางจักรยานให้เชื่อมต่อกับระบบขนส่งของรถไฟฟ้า BTS โดยทำที่จอดรถจักรยานติดกับบันไดรถไฟฟ้า BTS

แนวคิดที่ 2 : Bike Lounge
Bike Lounge มีแรงบันดาลใจจากการเห็นคนในสังคมไทย ยังให้ความสำคัญกับจักรยานน้อยไป เพราะมีปัญหาเรื่องการใช้เส้นทางจักรยานร่วมกับรถยนต์ มองในเรื่องความไม่ปลอดภัย ระบบโครงสร้าง ระบบผังเมืองที่ไม่เอื้อต่อการขี่จักรยาน เช่น ไม่มีที่จอดรถจักรยาน ทางเท้าเป็นที่วางขายของหรือวางขยะ ดังนั้นจึงเสนอแนวคิด Bike Lounge ขึ้น โดยแนวคิดหลักที่สำคัญ คือ “You Bike You are Special”  ภาครัฐ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องให้ความสำคัญกับคนที่ขี่จักรยานเป็นพิเศษ โดยสนับสนุนที่จอดจักรยานให้ มีล็อกเกอร์ และที่อาบน้ำให้ และสามารถจอดจักรยานได้ทุกอาคารที่กำหนดให้มี Bike Lounge รวมทั้งได้เสนอพื้นที่ Bike Lounge พร้อมกันนี้ด้วย เช่น พื้นที่ใต้สะพานข้ามแยก ใต้สะพานลอย เป็นต้น ให้เป็น Bike Lounge

แนวคิดที่ 1 : Cycling Transit Center แนวคิดที่ 2 : Bike Lounge

แนวคิดที่ 3 : Friendly Bike Line (FBL)
Friendly Bike Line (FBL) หรือแนวคิด “ก้อนเตือนภัย” มีที่มาจาก กทม.ได้พยายามผลักดันนโยบายไม่ให้พาหนะอื่นเข้ามาใช้ทางจักรยาน ผู้ออกแบบจึงมีแนวคิดในการวางก้อนเตือนภัยจักรยาน หรือ FBL ในระยะห่างที่พอเหมาะของเส้นทางจักรยาน เพื่อให้ตัวผู้ขับขี่จักรยานมีความมั่นใจในการเดินทาง และสามารถใช้พื้นที่ร่วมกับยานพาหนะอื่นๆ โดยไม่ต้องกังวลในเรื่องปัญหาความไม่ปลอดภัย ก้อนเตือนภัยจักรยาน FBL เป็นพลาสติกแข็ง เป็นการเตือนให้ผู้ขับขี่รู้สึกตัวเมื่อกำลังง่วงนอนหรือขับขี่รถยนต์เข้าไป ในเลนจักรยาน โดยทำการเตือนโดยใช้แรงสั่นสะเทือนจากล้อสู่ผู้ขับขี่จักรยานหรือรถยนต์

แนวคิดที่ 4 : Para Cycle Route
ParaCycle Route คือ แนวคิดในการจัดทำเส้นทางใหม่สำหรับผู้ใช้จักรยานในเมือง โดยการใช้โครงสร้าง Mega Project ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์หลายต่อ เช่น ทำเส้นทางจักรยาน ทำพื้นที่สีเขียวให้กับเมือง มีการปรับปรุงภูมิทัศน์ การเก็บสายไฟ สายโทรศัพท์โดยไม่ต้องขุดถนน และทำระบบการเดินทางให้เชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนที่มีอยู่ในเมือง

แนวคิดที่ 3 : Friendly Bike Line (FBL) แนวคิดที่ 4 : Para Cycle Route

แนวคิดที่ 5 Community Center
แรง บันดาลใจของแนวคิด เห็นว่าปัจจุบันประเทศไทยมีคนหันมาใช้จักรยานกันมากขึ้น ทั้งเพื่อประหยัดพลังงาน ประหยัดรายจ่าย และได้ออกกำลังกาย แต่ก็ยังพบว่าบางคนไม่ขี่จักรยานเนื่องจากอากาศร้อน ไม่มีทางจักรยาน ค่านิยมเรื่องจักรยานกับคนจน ฯลฯ ดังนั้นจึงต้องพัฒนาให้เกิดกลุ่มจักรยานในชุมชนขึ้นมาก่อน โดยใช้ชุมชนเป็นศูนย์กลาง (กรณีนี้ ได้เสนอให้บริเวณตลาดรถไฟ) ซึ่งปัจจุบันเป็นจุดเล็กๆ ที่ประชาชนรวมตัวกันขี่จักรยานเพื่ออกกำลังกายและเมื่อขี่เสร็จจะไปซื้อของ จ่ายตลาดบริเวณตลาดรถไฟ จนเกิดเป็นชุมชนจักรยานเล็กๆ ขึ้น ซึ่งอยู่บริเวณใกล้เคียงกับสถานีรถไฟฟ้าบางซื่อ  ในอนาคตจะกลายเป็นจุดเชื่อมต่อกับระบบรางอื่นๆ อีกมาก ดังนั้น กลุ่มเหล่านี้จะเป็นกลุ่มเป้าหมายในการช่วยเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้ เพราะเป็นกลุ่มที่ดึงดูดความสนใจจากภายนอกให้คนสนใจและอยากขี่จักรยานเข้า ร่วม ในที่สุดจะกลายเป็น Community Center โดยมีการพัฒนาแผนจักรยานให้เชื่อมโยงกับรถไฟเพื่อไปโรงเรียน ไปทำงาน โดยใช้ชุมชนบริเวณนี้เป็นต้นแบบ

แนวคิดที่ 6 Urban Bike Credit
Urban Bike Credit มีแนวคิดในการเพิ่มนักปั่นหน้าใหม่และเพิ่มรางวัลให้ผู้ใช้จักรยานรายเก่าๆ มีการจัดกิจกรรม The Bike Challenge Spot เพื่อเพิ่มพันธมิตรในโครงการ มีการขยายฐานลูกค้ามากขึ้น โดยมีบัตร Urban Bike Credit เสียบเข้ากับเครื่องบันทึกบัตรเพื่อแปลงระยะทางในการขับขี่และคำนวณเป็น เครดิตในการขี่ (ขี่มากได้เครดิตมาก) สามารถนำเครดิตในการขี่ไปใช้เป็นส่วนลดหรือร่วมรายการกับร้านค้าต่างๆ เช่น รับของขวัญ ร่วมกิจกรรมต่างๆ ในโอกาสพิเศษ ร่วมรายการกับร้านกาแฟ ร้านอาหาร และห้างสรรพสินค้า

แนวคิดที่ 5 Community Center แนวคิดที่ 6 Urban Bike Credit

แนวคิดที่ 7: พิพิธภัณฑ์จักรยานแห่งชาติ
แนว คิดนี้เป็นการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์จักรยาน โดยรวบรวมรายละเอียดประวัติจักรยานที่เข้ามามีบทบาทในประเทศไทยตั้งแต่สมัย รัชกาลที่ 4 มีร้านอาหาร มีการจัดแสดงนิทรรศการ มีพื้นที่ให้ความรู้เรื่องจักรยานในเมือง ห้องสมุด ห้องจัดแสดงนิทรรศการลดพลังงาน (โดยให้จักรยานอยู่ด้านล่าง) ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนและเยาวชนได้เห็นคุณค่าและความสำคัญของจักรยานอย่างแท้จริง ไม่ใช่เป็นไปตามกระแสนิยม

แนวคิดที่ 8 : Bike Through Food & Drink Stall
แนว คิด Bike Food & Drink Stall เป็นแนวคิดในการพัฒนาระบบให้คนเมือง ปั่นแบบสบายๆ จอดแบบสบายๆ โดยสามารถปั่นไปที่ร้านค้าในชุมชนและรับอาหารที่รถจักรยานได้เลย โดยเป็นร้านค้าขนาดเล็กในชุมชน ทำที่จอดจักรยานเป็น Slot เพื่อจอดรถจักรยานและสั่งอาหาร มีตัวล็อกจักรยานเข้ากับเฟรม โดยสามารถเก็บจักรยานได้ทุกขนาด เมื่อนำจักรยานเข้าจอดใน Slot และใช้เท้าเหยียบ เฟรมจะล็อกตัวจักรยานกับที่จอด แนวคิดนี้จะเป็นการส่งเสริมธุรกิจในชุมชน  และสะดวกสำหรับคนมีเวลาไม่มากนัก เพราะจะใช้เวลาน้อยในการจอดและเข้าออก

แนวคิดที่ 7: พิพิธภัณฑ์จักรยานแห่งชาติ แนวคิดที่ 8 : Bike Through Food & Drink Stall

แนวคิดที่ 9 : Fin Bike
แนว คิดนี้ เป็นแนวคิดเกี่ยวกับการมองเรื่อง “การสร้างระบบการปั่นจักรยานในเมืองอย่างไรให้ยั่งยืน”  การแบ่งปันข้อมูลดีๆ ที่เกี่ยวกับการปั่นในบ้านเราให้ทุกคนได้รู้เท่าเทียมกัน เรียกว่า “รู้เขา รู้เรา” เพื่อเป็นการสร้างเครือข่ายการปั่นจักรยานให้มากยิ่งขึ้น  โดยมีการจัดทำระบบฐานข้อมูล Outsource ต่างๆ เช่น เส้นทางจักรยาน เป็นการปันความรู้ดีๆ ให้กับคนอื่นๆ ผ่านระบบและช่องทางการสื่อสาร 4 ประเภท คือ 1) Fin Bike 2) Fin Friendly 3) Fin Social 4) Fin Partner ซึ่งจะมีการออกแบบการใช้ประโยชน์ผ่านสื่อหลายช่องทาง เช่น มือถือ Smart Phone / Web site / Magazine รายเดือน / หนังสือ โดยกระจายความรู้ไปยังช่องทางต่างๆ รวมทั้งระบบการขนส่งของเมืองไทย เช่น รถทัวร์ รถ ขสมก.ฯลฯ

แนวคิดที่ 10 : Feel Full
แนว คิดนี้อยากเห็น การเดินทางด้วยจักรยานกลายเป็นวิถีการเดินทางในชีวิตประจำวันมากขึ้น ด้วยการสร้างเครือข่ายเส้นทางจักรยานไปยังพื้นที่ต่างๆ ให้เป็นระบบ ทั้งจากที่พักไปที่ทำงาน หรือไปโรงเรียน หรือไปยังสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ แหล่งบริการต่างๆ รอบชุมชน และเชื่อมเส้นทาง

ทิพย์มล ไตรยุทธ

พฤษภาคม 2555

Comments

comments

Check Also

ชมรมฯ ร่วมงาน a day BIKE FEST 2016

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น