Home / ชุมชน เดิน-ปั่น / ชุมชนจักรยาน / จุดประกายคนไทยใช้จักรยาน

จุดประกายคนไทยใช้จักรยาน

จุดประกายคนไทยใช้จักรยาน ผ่านชุมชนเล็กๆหน้าวัดโคนอ

การจัดระบบและโครงสร้างเพื่อส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน ถือเป็นหนึ่งในมติที่ประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 18-20
ธันวาคม 2555 ที่ผ่านมา เป็นวาระที่เสนอโดยชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย และมีภาคีเครือข่ายกว่า 2,000 คนร่วมกันขับเคลื่อน “สานพลัง” ให้หน่วยงานภาครัฐได้ตระหนักถึงความสำคัญ นำไปสู่การออกแบบเชิงนโยบายสร้างสุขภาวะของประชาชนอย่างเป็น รูปธรรม แม้การประชุมสมัชชาจะผ่านไปกว่า 3 เดือนแล้ว แต่ล่าสุดทางสำนักงาน
คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ มาร่วมกันขบคิดเพื่อติดตามความก้าวหน้าของการขับเคลื่อนมติดังกล่าว โดยพบว่าหลายแห่งมีแนวทางทำงานที่สอดคล้องกัน และต่างก็เห็นประโยชน์ในการส่งเสริมให้ประชาชน หันมาออกกำลังกายด้วยการเดินและใช้จักรยานอย่างเต็มที่เช่นเดียวกัน
โดยเป้าหมายสำคัญของการเดินและการใช้จักรยานตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติก็ คือ ต้องการลดปัญหาด้านสุขภาพของคนไทยในปัจจุบัน อยู่ในภาวะ สุ่มเสี่ยง เผชิญกับหลาย
โรครุมเร้า อาทิ โรคหัวใจ , เบาหวาน , โรคอ้วน และโรคมะเร็งต่างๆอีกสารพัด จากสภาพเศรษฐกิจที่เร่งรีบทำให้ประชาชนหันมาใช้รถยนต์และรถจักรยานยนต์ในการ เดินทาง
แม้จะเป็นระยะทางใกล้ๆไม่กี่กิโลเมตร เมื่อไม่มีกิจกรรมทางร่างกายอย่างเพียงพอ จึงทำให้มีโอกาสเกิดโรคร้ายตามมา แถมสร้างมลภาวะทิ้งไว้ให้เพื่อนๆในสังคมและชุมชนอีกด้วย

   หนึ่งในตัวอย่างที่เห็นชัดเจนของความสำเร็จในการส่งเสริมให้สังคมไทย หันมาใช้จักรยานอย่างเป็นรูปธรรม คือชุมชนเล็กๆที่ชื่อว่า “ชุมชนหน้าวัดโคนอน” ใกล้กับถนนเทอดไท ย่านภาษีเจริญซึ่งทางชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย ได้เข้าไปสนับสนุน แลกเปลี่ยนกระบวนการเรียนรู้ และสร้างความร่วมือจากชาวชุมชนตั้งแต่เมื่อช่วง 2 ปีที่ผ่านมา จนในที่สุด ณ วันนี้ชาวบ้านส่วนใหญ่ต่างมีจักรยานของตัวเองใช้เกือบทุกหลังคาเรือน ผ่านกระบวนการที่เรียกว่า “กลุ่มออมทรัพย์เพื่อจักรยานชุมชน” โดยเก็บเงินสมาชิก
แค่วันละ 10 บาทก็สามารถเป็นเจ้าของพานะสองล้อในราคา 300 บาทได้ นวัชรศิษฐ สุภาการ ประธานชุมชนหน้าวัดโคนอน กล่าวว่า ในช่วงปลายปี 2555 ที่ผ่านมาได้เข้าร่วมกิจกรรมในงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 5 ที่ไบเทค บางนา กับชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย ซึ่งถือว่ากระบวนการสร้างนโยบายสาธารณะของสมัชชาสุขภาพแห่งชาติที่ได้ ประโยชน์มาก และสามารถนำความรู้กลับมาบอกเล่าให้ชาวชุมชนหน้าวัดโคนอนทราบถึงประโยชน์ของ การเดินและการใช้จักรยาน พร้อมกันนั้นก็มีแผนที่จะขยายความร่วมมือไปสู่ชุมชนรอบข้างอีกด้วย จุดเริ่มต้นของการตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อจักรยานชุมชน มีมาตั้งแต่ปี 2555 ที่ทางชมรมฯได้มาส่งเสริมชาวบ้านให้มีโอกาสร่วมขี่จักรยานประมาณ
10-20 คันในช่วงแรก เนื่องจากขณะนั้นทางชมรมฯต้องการรณรงค์ให้ชุมชนใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน พวกเราในฐานะแกนนำชุมชนก็เห็นความเป็นไปได้ และอยากให้เป็นชุมชนต้นแบบที่เขตภาษีเจริญด้วย จึงเห็นควรว่าน่าจะสนับสนุน แต่ขณะนั้นก็พบว่ามีชาวบ้านถึงร้อยละ 20 ที่มีจักรยานของตัวเองแต่ใช้ไม่ได้ เสียบ้าง พังบ้าง พวกเราก็คิดกันว่าจะทำอย่างไรดี ทางชมรมฯจึงจัดหาทุนและจัดซ่อมจักรยานให้จำนวน 30 คัน นวัชรศิษฐ เล่าว่า ต่อมาจึงคิดว่าน่าจะมีกิจกรรมให้ชาวบ้านมาร่วมกันขี่จักรยานทุกวัน เพราะแถวนี้ก็เป็นตลาดสด ชาวบ้านต้องตื่นแต่เช้าเอาของมาขาย บางคนออกมาซื้อกับข้าว หรือส่งลูกหลานไปโรงเรียน จึงติดประกาศชักชวนให้ทุกคนร่วมกันขี่จักรยานทั้งในชีวิตประจำวันและเพื่อ การเรียนรู้ เริ่มจากไป
ใกล้ๆก่อนจะขยายเส้นทางออกไป แต่ทุกครั้งเราก็จะติดต่ออปพร. และติดต่อรถพยาบาล เพื่อให้ชาวบ้านที่มาร่วมรู้สึกความปลอดภัย ปรากฎว่าได้รับความสนใจมาก รวมๆแล้วไปกันนับ  100 คัน จากนั้นก็ต่อยอดโครงการรณรงค์ให้เยาวชนหันมาใช้จักรยานมากขึ้น เพราะปกติแม่บ้านในชุมชนก็จะมีอาชีพเย็บผ้า ส่วนเด็กๆถ้าว่างก็ไปเล่นเกมส์ ซึ่งเป็นห่วงเรื่องของปัญหาการติดยาเสพติดด้วย เราก็ปรับพฤติกรรมให้เด็กใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ร่วมกัน แต่จะให้บังคับเด็กทุกคนต้องซื้อจักรยานก็ดูจะเป็นเรื่องใหญ่เกินไป เพราะต้องใช้เงิน 1,000-2,000 บาท จึงคิดจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อซื้อจักรยานเก็บเงินวันละ 10 บาท เด็กๆส่วนใหญ่ที่มาร่วมจะอายุประมาณ 6-12 ปี ปกติจะได้เงินจากพ่อแม่วันละ 20 บาท ก็จะเอามาเก็บไว้กับเราครึ่งหนึ่งไม่นานเขาก็จะมีจักรยานเป็นของตัวเอง เมื่อปีที่ผ่านมามีสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ประมาณ 60 คน ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เก็บเงิน 5 วัน ก็จะได้เงินรวม 300 บาท ซึ่งจะสามารถซื้อจักรยานได้ 1 คัน เวลารวมเงินได้ครบก็จะมีการจับสลากลุ้นรางวัลกัน จับได้ชื่อใครคนนั้นก็จะได้เงินที่สะสมไว้ไปซื้อจักรยานจนครบทุกคน วงเงิน 3,000 บาทนี้ก็ซื้อได้ประมาณจักรยานญี่ปุ่นมือสองหรือจะซื้อแบบไหน สไตล์ไหน ก็แล้วแต่ความชอบ พวกเราไม่ซีเรียส แต่เงินที่ได้รับนี้จะต้องซื้อจักรยานเท่านั้น เท่ากับว่าในทุกๆ 1 เดือน…

ที่มา :http://www.posttoday.com

23  ก.ค. 56

Comments

comments

Check Also

เปิดรับข้อเสนอโครงการชุมชนจักรยาน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น