Home / ปาฐกถาพิเศษ “บทเรียนรู้จากต่างประเทศด้านความปลอดภัย ทำอย่างไร(ไม่)ปลอดภัย”

ปาฐกถาพิเศษ “บทเรียนรู้จากต่างประเทศด้านความปลอดภัย ทำอย่างไร(ไม่)ปลอดภัย”

ปาฐกถาพิเศษ “บทเรียนรู้จากต่างประเทศด้านความปลอดภัย ทำอย่างไร(ไม่)ปลอดภัย” 

ดย ศ.กิตติคุณ ดร.ธงชัย พรรณสวัสดิ์ ผู้ก่อตั้งและประธานชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย

              สิ่งที่นำมาเสนอวันนี้ บางเรื่องเป็นเรื่องเก่านำมาฉายซ้ำ บางเรื่องเป็นเรื่องใหม่ เพื่อให้เห็นภาพรวมและความเชื่อมโยง

              สามเหลี่ยมผู้ขี่จักรยาน“สามเหลี่ยมผู้ขี่จักรยาน” แบ่งผู้ขี่จักรยานเป็นสามกลุ่มคือ นักแข่ง, นักจักรยาน และผู้ใช้จักรยาน ที่แบ่งเช่นนี้เพื่อให้เห็นความแตกต่างและจัดการได้ดี ทำให้ทุกกลุ่มมีที่ยืน ได้รับความสนใจ ปัญหาและความต้องการได้รับการตอบสนองตรงจุด เมื่อค้นคว้าไปก็พบว่าการแบ่งแบบนี้ก็ทำในต่างประเทศด้วย เช่น ที่ออสเตรเลีย 

               ทำไมต้องจำกัดความเร็วไว้ที่ 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมงองค์การอนามัยโลกศึกษาออกมาตั้งแต่ปี 2551 แล้วว่า ที่ความเร็วนั้นอัตราการตายเมื่อคนเดินเท้า-คนขี่จักรยานถูกชนจะต่ำมาก ไม่ถึงร้อยละ 10 ขณะที่การตายที่ความเร็ว 50กิโลเมตรต่อชั่วโมงจะมากถึงร้อยละ 80  เนเธอร์แลนด์ซึ่งยอมรับกันว่าเป็น “ประเทศจักรยาน” ไม่มีทางจักรยานในกลางเมืองเพราะจำกัดความเร็วไว้  และทั่วโลก เช่น จีน ไต้หวัน กัมพูชา ก็จำกัดความเร็วไว้เท่านี้  ในกรุงเทพฯ บางแห่งก็มี แต่ไม่มีการบังคับใช้ ต่างประเทศเขาพยายามลดลงไปอีกด้วย ทำให้ปลอดภัยที่สุดด้วยการลดอันตรายลงให้มากที่สุด โดยเอาวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วย 

               ทางจักรยานมีการพูดกันว่าให้เอาไหล่ทางเป็นทางจักรยาน หลายแห่งทำกัน แต่ไม่มีที่ไหนในโลกที่เอาไหล่ทางเป็นทางจักรยาน  อาจารย์ฉายภาพทางจักรยานสี่แบบในต่างประเทศ ซึ่งมีระดับการป้องกันผู้ใช้จักรยาน ค่าก่อสร้าง ความทนทาน และความสวยงามไม่เท่ากัน  แบบ Large Bumps คือมีที่กั้นขนาดใหญ่แยกทางจักรยานจากทางรถยนต์ ให้ความปลอดภัยสูงสุด(ห้าดาว) ทนทาน สวยงาม(สี่ดาว) และค่าก่อสร้างก็ไม่สูงมาก  ในเรื่องนี้ ขอให้เข้าใจว่า เราไม่ได้สร้างทางจักรยานอย่างเดียว แต่เราสร้างโครงสร้างทางกายภาพให้ชุมชนและเมืองน่าอยู่สวยงาม 

                 หมวกนิรภัย(หมวกกันน็อก)เราไม่ต้องใส่หมวกกันน็อกทุกครั้งที่ขี่จักรยาน จะใส่ก็เมื่ออันตราย ตัวเองทำแบบนี้  ที่ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ซึ่งเป็นสองประเทศเท่านั้นที่มีกฎหมายบังคับให้ผู้ขี่จักรยานต้องใส่หมวกกันน็อก เขาก็ไม่ใส่หมวกกันน็อกเวลาขี่จักรยานในถนนซอยในละแวกบ้าน สหพันธ์ผู้ใช้จักรยานยุโรปหรือECF ซึ่งเป็นองค์กรของผู้ใช้จักรยานที่ใหญ่ที่สุดในโลก ประกาศจุดยืนมาหลายปีแล้วว่า ไม่เห็นด้วยกับการบังคับให้ใส่หมวกกันน็อก โดยชี้ว่าการใส่หมวกกันน็อกทำให้คนชะล่าใจ(ประมาท) สถิติในประเทศต่างๆ ก็บ่งชี้ว่าการบังคับให้ใส่หมวกกันน็อกไม่ได้ลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ใช้จักรยานที่ถูกชนลง  ในออสเตรเลีย นักวิชาการชี้ออกมาเลยว่า กฎหมายของออสเตรเลียที่บังคับให้ผู้ใช้จักรยานใส่หมวกกันน็อกเป็นนโยบายสาธารณสุขที่ล้มเหลว (Australian mandatory helmet legislation is a failed public health policy) เพราะหลังกฎหมายออกมา คนเลิกใช้จักรยานไปเป็นจำนวนมาก ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง  ดังนั้นสิ่งที่ควรทำคือ การทำให้ขี่จักรยานได้ปลอดภัยมากกว่า  หมวกกันน็อคไทยที่ราคาถูกไม่ปลอดภัย หมวกที่ได้มาตรฐานเป็นหมวกจากต่างประเทศที่ราคาสูง แพงกว่าจักรยานทั่วไปเสียอีก นอกจากนั้นหมวกกันน็อกมีอายุใช้งาน สามปีต้องเปลี่ยน คนไทยยังมีปัญหาการใส่หมวกกันน็อกไม่ถูกวิธี เมื่อใส่ไม่ถูกวิธีก็ไม่มีประสิทธิผลในการป้องกันศีรษะ  การวิจัยพบว่า ร้อยละ 22.5 ของผู้ให้ข้อมูลบอกว่าจะขี่จักรยานมากขึ้นถ้าไม่ต้องใส่หมวก  อาจารย์เองก็ใช้ตามความเหมาะสม  เรื่องความปลอดภัยอีกเรื่องคือการที่คนขับรถเห็นหรือไม่เห็นคนขี่จักรยาน จึงขอถามว่า เมื่อขี่จักรยานกลางคืน มีหมวกกันน็อกหรือเสื้อสะท้อนแสงให้เลือกใส่ จะใส่อะไร (ผู้ร่วมประชุมตอบว่าเสื้อสะท้อนแสง)  การศึกษาที่นิวซีแลนด์พบว่าอุปกรณ์ต่างๆ ที่ผู้ใช้จักรยานใช้ให้คนขับรถมองเห็นในเวลากลางคืนให้ผลไม่ต่างเท่าใด ชมรมฯกำลังจะศึกษาเรื่องนี้ในไทย  ได้ทุนมาแล้ว วิธีการหนึ่งที่จะเพิ่มความปลอดภัยได้คือ ให้ได้ฝึกการขี่จักรยานบนถนนตั้งแต่อายุยังน้อย 

                  จักรยานไม่ใช่ยานพาหนะ แต่เป็นมิติทางสังคม  มีข้อคิดจากต่างแดนว่า เขามองการใช้จักรยานเป็นเรื่องยิ่งใหญ่ ECF จัดประชุมจักรยานระดับโลกอย่างโอฬาร UCI ก็ยังหันมาสนใจผู้ใช้จักรยาน  วัฒนธรรมจักรยานเป็นการเดินทางที่ไม่เร็ว การวิจัยพบว่า ความเร็วเฉลี่ยของการขี่จักรยานในเมืองที่ญี่ปุ่นและโคเปนเฮเกนอยู่ที่ 10.8 และ 16 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเท่านั้น  การขายของบนทางเท้าที่ไต้หวันก็มี แต่จัดระเบียบให้เดินได้  การสร้างความปลอดภัยในการใช้จักรยานควรเปลี่ยนจากการเน้นใช้โครงสร้างทางกายภาพมาเป็นการเน้นเปลี่ยนพฤติกรรม

Comments

comments

Check Also

ระดมผู้เชี่ยวชาญช่วยเสริมพลังเมืองที่อยากเป็นมิตรกับการเดินและจักรยาน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น